จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

"ไซเชเดลิกา" ปลาหน้าตาเหมือนกบ สปีชีส์ใหม่ในทะเลอินโด

"ไซเชเดลิกา" ปลาหน้าตาเหมือนกบ สปีชีส์ใหม่ในทะเลอินโด

"ไซเชเดลิกา" ปลาหน้าตาเหมือนกบ สปีชีส์ใหม่ในทะเลอินโด

ปลาหน้าตาประหลาด สีเหลือง หน้าแบน มีอวัยวะคล้ายขา ลวดลายเหมือนม้าลาย และชอบกระโดดอยู่บนพื้นทะเลน้ำตื้น ในเกาะอัมบอนของอินโดนีเซีย เป็นตระกูลปลากบที่ได้รับการจำแนกสปีชีส์ใหม่จากนักวิจัยวอชิงตัน เป็น "ไซเชเดลิกา" หลังครูสอนดำน้ำไปพบเมื่อปีก่อน

ปลาหน้าตาประหลาด สีเหลือง หน้าแบน เท็ด เพียตส์ช (Ted Pietsch) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) สหรัฐฯ ได้จำแนกสปีชีส์ ให้กับปลาที่พบบริเวณน้ำตื้นของเกาะอัมบอน ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย ที่พบโดยครูสอนดำน้ำของบริษัททัวร์เมื่อปีที่แล้ว และทางบริษัททัวร์ได้ติดต่อมายังศาสตราจารย์แห่งวอชิงตันผู้นี้

เขาได้ตั้งชื่อปลาชนิดใหม่นี้ว่า "ไซเชเดลิกา" (psychedelica) และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านวารสารโคเปีย (Copeia) ของสมาคมนักสัตวศาสตร์ด้านปลาและสมาคมนักสัตวศาสตร์ด้านสัตว์ครึ่งบกครึ่ง น้ำอเมริกัน (American Society of Ichthyologists and Herpetologists)

ปลาไซเดลิกามี หน้าตาประหลาด เด้งได้เหมือนลูกบอลยาง อยู่บริเวณพื้นมหาสมุทร จัดเป็นปลากบ (frogfish) ชนิดหนึ่ง มีลายรอบตัวเหมือนม้าลายสีน้ำตาลไหม้ และสีลูกพีช ซึ่งพาดยาวจากดวงตาสีน้ำทะเลไปปลายหาง มีขนาดประมาณกำปั้น ร่างกายปกคลุมด้วยผิวหนังย่นๆ เป็นวุ้นหนาๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากปะการังที่แหลมคม มีใบหน้าแบนและดวงตามองตรงเหมือนคน อีกทั้งยังมีปากที่อ้าได้กว้าง

เพียตส์ชจำแนกสปีชีส์ของปลาชนิดใหม่ด้วยดีเอ็นเอ ซึ่งปลาดังกล่าวจัดอยู่ในจีนัสหรือตระกูลฮิสทิโอฟไรน์ (Histiophryne) และเช่นเดียวกับปลากบอื่นๆ ที่มีครีบทั้ง 2 ข้างของลำตัว ซึ่งวิวัฒนาการไปเป็นอวัยวะคล้ายขา

แต่ก็มีบางพฤติกรรมที่เขาเขียนไว้รายงานว่า แตกต่างไปจากปลากบอื่นๆ ที่รู้จัก แต่ละครั้งที่ปลากบสปีชีส์ใหม่นี้กระแทกพื้นทะเล มันก็จะกางครีบออกแล้วพ่นน้ำออกจากเหงือก เพื่อส่งตัวเองให้พุ่งไปข้างหน้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แปลกประหลาดและดูวุ่นวาย
ปลาหน้าตาประหลาด สีเหลือง หน้าแบน

"ผม คิดว่าคนทั่วไปต้องนึกว่าปลากบก็เหมือนๆ กัน อย่างที่รู้จักดีแล้ว แต่ปลากบชนิดใหม่นี้

เป็นอะไรที่น่าประทับใจจริงๆ มันเป็นสัตว์ที่น่าทึ่ง และลายพรางของมัน น่าจะเป็นการลอกเลียนปะการัง

อีกทั้งยังเป็นการบอกด้วยว่าความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่นี้ มากมายแค่ไหน และ

ความจริงที่ว่ายังมีอะไรที่เราไม่รู้อีกมากที่นี่ ที่อินโดนีเซียและสามเหลี่ยมปะการัง (Coral Triangle)"

ความเห็นจากมาร์ก เอิร์ดมาน (Mark Erdman) ที่ปรึกษาอาวุโสจากโครงการทางทะเลขององค์กรอนุรักษ์สากล

(Conservation International).

ไม่มีความคิดเห็น: