จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

"อาร์ดวาร์ก" เกิดใหม่

"อาร์ดวาร์ก" เกิดใหม่
สวนสัตaarkvard สัตว์เลี้ยงสัตวแพทย์ว์แห่งเมืองดีทรอยต์ (Detroit Zoo) ในสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ภาพ "อาร์ดวาร์ก" (aardvark)
เกิดใหม่ โดยตั้งชื่อเป็นภาษาแอฟริกาตะวันตก ตามถิ่นกำเนิด
ของสัตว์ชนิดนี้ นามว่า "อมานี" (แปลว่า สันติภาพ)

อาร์ดวาร์กน้อยตัวนี้ เกิดเมื่อต้นเดือน ธ.ค. 51 ที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถระบุเพศได้ ต้องรอผลทดสอบทางดีเอ็นเอเสียก่อน

ทั้งนี้ ตัวอาร์ดวาร์ก เป็นสัตว์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่หากินเวลากลางคืน กินมดและปลวกเป็นอาหาร มีลิ้นยาวมาก อุ้งเท้าแข็งแรงและหูยาว ตามธรรมชาติแล้วเชื่องช้า แถมยังสายตาไม่ดี จึงทำให้สัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์ต้องแยกเจ้าอมานีออกไปฟูมฟักเป็นพิเศษเสีย ก่อน
aarkvard สัตว์เลี้ยงสัตวแพทย์
เมื่อเติบใหญ่แล้ว อาร์ดวาร์กจะมีน้ำหนัก 40 - 70 กิโลกรัม ซึ่งเจ้าตัวเล็กที่เพิ่งลืมตาดูโลกนี้มีน้ำหนักเพียงแค่ 1.5 กิโลกรัม

"อาร์ดวาร์ก" เป็นสัตว์พื้นเมืองของแอฟริกา ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "เอิร์ธพิก" (earth pig) แม้จะสายตาไม่ดีตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่หูของอาร์ดวาร์กนั้นมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง พวกมันหาอาหารซึ่งก็คือแมลงด้วยการฟังเสียง จากนั้นก็ตวัดลิ้นอันยาว (บางตัวยาวถึง 1 ฟุตเลยทีเดียว) เพื่อจับแมลงมากิน

อย่างไรก็ดี แม้ว่า "อาร์ดวาร์ก" จะมีหน้าตาเหมือนตัวกินมด (Anteater)
แต่ก็เป็นเพียงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ร่วมไฟลั่มเดียวกัน (Phylum: Chordata ) แต่ไม่ได้ร่วมอันดับหรือตระกูลเดียวกันแต่อย่างใด.

aarkvard สัตว์เลี้ยงสัตวแพทย์aarkvard สัตว์เลี้ยงสัตวแพทย์
ขอบคุณ manageronline

'บอลไพธ่อน' งูตำนานกรีก

'บอลไพธ่อน' งูตำนานกรีก

'บอลไพธ่อน' งูตำนานกรีก วัยรุ่นฮิตเลี้ยงในคอนโดและหอพัก

“...ผม แอบเลี้ยง...งูบอลไพธ่อน มาได้ถึง 2 ปีครึ่ง แล้ว มันน่ารัก..ไม่งอแง กินหนูขาว เป็นอาหาร ทั้งแช่แข็ง และ หนูเป็นๆ พอดี คุณแม่รู้...ด่ามากกๆๆเลย...”

...ต้องการขายให้คนที่รักสัตว์เลี้ยงประเภทนี้ ราคาตัวละ 2,300 บาทครับ...!!!

ข้อความข้างต้น คือ การประกาศขาย สัตว์เลี้ยงในเว็บไซต์เกี่ยวกับ สัตว์เลื้อยคลาน เมื่อลองคลิ๊กเข้าไปดูข้อมูลสัตว์แปลกๆต่างๆมากมาย...

และเมื่อลองสืบค้น ประวัติของ งูบอลไพธ่อน พบว่า ในตำนานกรีกโบราณ เทพซูส...ได้ปฏิพัทธ์เสน่หา นางแลโตนา ทำให้ เจ้าแม่ฮีรา เกิดความหึงหวงจึงกลั่นแกล้งด้วยการส่ง งูบอลไพธ่อน ที่เลี้ยงไว้ไปตามรังควาญ นางจึงต้องอุ้มครรภ์หนีซอกซอนไปจนถึง เกาะดีลอส (Delos)

งูpythonสัตวแพทย์สัตว์เลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน

เทพโปเซดอน มีความสงสารบันดาลให้เกาะน้อยผุดขึ้นในทะเล เพื่อให้นางได้ประสูติ เทพอพอลโล กับ เทพอาร์เตมิส บนเกาะนั้น ทันทีที่ประสูติจากครรภ์มารดา เทพอพอลโล ก็จับงูบอลไพธ่อนฆ่าเสีย ได้รับการขนานนามว่า ไพธูส แปลว่า “ผู้ประหารบอลไพธ่อน”...นั่นคือตำนานของงูตัวนี้

งูบอลไพธ่อน เรียกอีกชื่อว่า ไพทอล Python regius หรือ Royal Python ฝั่งทวีปอเมริกาเรียกว่า Ball Python ซึ่งในเมืองไทยเราก็เรียกชื่อเดียวกัน ถิ่นกำเนิดใน อาฟริกาตะวันตก จนถึง อูกานดา อยู่ในบริเวณป่าเปิดจนถึง ทุ่งซาวันนา

ลักษณะทั่วไป เป็นงูที่มีรูปร่างค่อนข้างสั้น ขนาดจะไม่เกิน 1.2 เมตร เมื่อโตเต็มที่ ปกติจะมี สีน้ำตาลทางด้านหลัง มีจุดขาวเทาหรือเหลืองทางด้านข้างลำตัว แถบสีเหลืองจากส่วนปลายจมูกยาวถึงบริเวณส่วนคอ ส่วนเส้นเหลืองจากปลายปากพาดตา และบริเวณใต้ท้องสีเหลือง

อุปนิสัยจัดเป็น งูที่เรียบร้อยไม่ดุร้าย มีพฤติกรรมต่างกับงูอื่นๆตรงที่ในการป้องกันตัว ไม่ค่อยใช้ฉกจู่โจมหรือการกัด แต่จะใช้ การขดตัว เป็นเสมือน ลูกบอล แทน...ดังชื่อของมัน

การสืบพันธุ์จะกระทำในช่วงใบไม้ผลผลิ หรือ หลังจากอากาศหนาวผ่านไป มักเป็นช่วงปลายปี โดยตัวผู้จะเลื้อยคลอเคลียกับตัวเมียไปทางด้านข้าง ใช้หางเขี่ยคลอเคลียไปบนหลังตัวเมีย มีการใช้เทคนิค นวดตัวเมียโดยใช้สเปอร์และปลายหาง เมื่อเป็นที่ถูกใจตัวเมียจะม้วนหางขึ้นเพื่อให้ตัวผู้ได้ผสมพันธุ์

จาก นั้น 1-4 เดือนต่อมา ตัวเมียจะออกไข่ ประมาณ 5-8 ฟอง ในการกกไข่ ตัวเมียทำหน้าที่เพียงป้องกันไข่ ไม่ได้ใช้การสั่นของกล้ามเนื้อเพื่อกระตุ้นไข่หรือให้ความอบอุ่น ในขณะที่เป็นลูกงูนั้น การลอกคราบจะถี่มากช่วงปีแรกเฉลี่ยเดือนละครั้ง ขึ้นอยู่กับอาหารหากกินมากก็จะลอกคราบถี่

ประเทศไทยมีการนำเข้ามาเพาะเลี้ยงเป็น สัตว์เลี้ยง นานกว่า หลายสิบปีแล้ว โดยกลุ่มผู้เลี้ยงมักจะเป็นวัยรุ่นหรือ นักศึกษา ที่อาศัยอยู่ตาม คอนโด หรือ หอพัก ที่ไม่มี การควบคุมงูpythonสัตวแพทย์สัตว์เลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานดูแล อย่างเข้มงวด ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์เพื่อให้เกิดลวดลายตามลำตัวและสีสันใหม่ๆที่น่าสนใจ ทำให้บางตัวมีสนน ราคาแพงถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว...!!! สำหรับข้อมูลในการเลี้ยงงูบอลไพธ่อน ควรเลี้ยงไว้ในกล่องพลาสติกให้มีความยาว 1 เท่าของตัวงู มีการช่องระบายอากาศ ให้น้ำไว้ในถ้วย โดยการเปลี่ยนทุกวัน เพราะงูมักจะชอบขับถ่ายใส่น้ำบ่อยๆ ให้อาหารจำวพกหนูขาวหรือหนูถีบจักร สัปดาห์ละครั้ง

การดูแลทั่วไป ก็ แค่เพียงนำออกมาอุ้มเล่นทุกๆวัน เพื่อให้ถูกแดดบ้างในช่วงเวลาเช้า โดยเฉลี่ย วันละประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อความคุ้นเคย ยกเว้น อย่าอุ้มตอนที่งูอิ่มๆ และช่วงที่ เข้าคราบ

จากนั้นจึงเก็บไว้ใน กล่องเหมือนเดิม การทำความสะอาดทันทีเมื่อเห็นงูขับถ่ายออกมา เก็บคราบของงูที่ลอกแล้วไปทิ้ง อย่าปล่อยเอาไว้ในที่เลี้ยงงูเพราะอาจ หมักหมมเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ได้

เท่าที่กล่าวมานี้ ใครสนใจจะเลี้ยงงูบอลไพธ่อน...ก็ควร ต้องศึกษาประวัติชีวิต มันเสียก่อน...ที่สำคัญควรบอกผู้อยู่ใกล้ชิดกับท่านด้วยว่า...พร้อมหรือไม่ ...???

ไชยรัตน์ ส้มฉุน


*อันนี้เจ้าของกระทู้ก้อเลี้ยงตัวนุง ซื้อมาตัวละ 1000 บาทเอง ^///^"*

เต่าญี่ปุ่น

เต่าญี่ปุ่น

เต่าแก้มแดง

ชื่อสามัญ เต่าแก้มแดง

เต่าญี่ปุ่น ชื่อวิทยาศาสตร์ Red-eared Slider

ถิ่นกำเนิดจากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ สหรัฐอเมริกา(หาได้มาจากประเทศญี่ปุ่นแต่อย่างใด)

อายุ เท่าที่มีการจดบันทึก มีอายุถึง ๓๐ ปี

แต่ ก่อนประเทศญี่ปุ่นนำเข้าเต่าชนิดนี้จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อมาขายเป็น สัตว์เลี้ยงในประเทศตน และมีการขายต่อกันมาเป็นทอด ๆ กระจายกันไปทั่วทวีป เอเชีย จึงเข้ามาสู่บ้านเราได้ด้วยประการนี้ แต่ละปีทั่วโลกจะซื้อหาเต่า แก้มแดงเพื่อการเป็นสัตว์เลี้ยงมากมายหลายล้านตัว โดยฟาร์มที่เพาะพันธุ์ ขนาดใหญ่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศไทยก็สามารถเพาะพันธุ์ได้ เช่นกัน แต่ปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงต้องนำเข้าเป็นส่วน ใหญ่

หางาน สัตวแพทย์ รักษา สุนัข แมว ชูการ์ สัตว์เลี้ยงป่วยเต่าแก้มแดง เป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก เราจึงเรียกว่า เต่าน้ำ
ทั้งมีสรีระร่างกายที่เอื้อประโยชน์ต่อการมีชีวิตอยู่ในน้ำอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นพังผืดเชื่อมระหว่างนิ้วเท้า เพื่อช่วยในการว่ายน้ำ
หนังตาใส ๆ ไว้ปิดตาเมื่อดำน้ำคล้ายหน้ากากกันน้ำ เป็นต้น

ตอนเล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเท่าลูกปิงปอง

454fm4xa77 เลือกซื้ออาหารเฉพาะสำหรับเต่าน้ำ ( Aquatic turtle) อย่า ลืมนะครับว่า คุณภาพอาหารและราคานั้นไปในทิศทางเดียวกัน และถ้าจะให้ ดี เลือกอาหารที่มีฉลากแปะข้างขวด เป็นภาษาที่ท่านสามารถอ่านได้นะ ครับ เพราะเราจะเข้าใจส่วนประกอบของสารอาหารและทราบวันหมดอายุอีกด้วย
เสริมเรื่องอาหาร จาก ที่ได้ศึกษาในเว็บบอร์ดแห่งนี้ ควรเสริมด้วยอาหารจำพวกเนื้อเพิ่มและผักเข้า ไปด้วยครับนอกจากอาหารเม็ด เช่น กุ้งฝอย อาหารปลาดุก ... และอื่นๆ

การเตรียมสถานที่เลี้ยง เรา ทราบแล้วว่าเขาเป็นเต่าน้ำมาจากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ก็ควรจะเลี้ยงในสภาพ กึ่งธรรมชาติ เพราะเต่าต้องการพื้นที่ว่ายน้ำ , พื้นที่สำหรับขึ้นมากิน อาหารบวกกับการพักผ่อนบนบก และพื้นที่สำหรับการขึ้นมาตากแดดเพื่อสุขภาพที่ ดี กระผมขอแนะนำให้ใช้ตู้เลี้ยงปลาหรือบ่อธรรมชาติกลางแจ้ง ที่มีพื้นที่ แห้งและบ่อน้ำขนาดเล็ก แต่ต้องเพียงพอรองรับการเติบโตในอนาตคได้ ด้วย เพราะเต่าแก้มแดงเมื่อโตเต็มที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระดองไม่ต่ำ กว่า ๓๐ เซนติเมตรหรือ ๑ ฟุตทีเดียว ส่วนความสูงของขอบบ่อหรือตู้ปลาก็ไม่ ควรจะต่ำกว่า ๓๐ เซนติเมตร เพราะเต่าแก้มแดงปีนเก่งมาก

แยกเพศด้วยการสังเกตตาเปล่า
มี จุดให้สังเกตดังนี้ จุดแรก เล็บที่ขาหน้า เต่าตัวผู้จะมีเล็บยาวมากกว่า ในตัวเมีย ด้วยเพราะต้องใช้ในการเกาะด้านข้างของกระดองตัวเมียเพื่อการผสม พันธุ์ จุดที่สอง รูปทรงกระดอง เมื่อนำมาวางเปรียบเทียบกัน จะพบว่า กระดองของเต่าตัวเมียจะมีขนาดใหญ่และกว้างกว่าตัวผู้ เพราะต้องคอยรับการ ขึ้นขี่หลังของตัวผู้ระหว่างขั้นตอนการผสมพันธุ์ จุดสุดท้าย หางของเต่า ตัวผู้จะยาวและเรียวกว่าเต่าตัวเมียมาก

แยกเพศขณะยังเล็กๆ
ก็ขอให้ท่านดูที่หางเป็นหลัก เพราะถ้านำมาเปรียบเทียบกัน
จะพบว่าตัวผู้จะมีหางยาวกว่าตัวเมียเล็กน้อย

เสริมเรื่องการแยกเพศขณะยังเล็ก ไม่แน่ใจข้อมูลเชื่อถือได้หรือเปล่า
ทางเจ้าของร้านบอกให้ดูบริเวณใต้ท้อง ตัวเมียจะมี ส่วนเว้าที่มากกว่า ให้เอานิ้วลูบดู
*** จริง - เท็จ แค่ไหน แจ้งด้วยครับ ***

โรคภัยไข้เจ็บและความผิดปกติต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยในเต่าแก้มแดง

ตาเจ็บและบวม จาก ภาวะขาดวิตามิน เอ พบได้บ่อย ๆ ในเต่าแก้มแดงอายุน้อยที่เราเพิ่งซื้อมา เลี้ยงได้ประมาณ ๓ – ๔ เดือน และให้กินแต่อาหารเม็ดเท่านั้น เต่าจะใช้ วิตามินเอซึ่งสะสมอยู่ในตับจนหมด โดยเต่าจะซึมไม่ค่อยกินอาหาร จากนั้นตา ก็จะเริ่มบวมปิด พบฝ้าขาวในช่องปาก ไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือว่ายน้ำ ท่าน เจ้าของกรุณานำเจ้าเต่าน้อยไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการฉีดวิตามินให้สัปดาห์ ละครั้ง ติดต่อกันสัก ๒ -๓ สัปดาห์ก็จะดีขึ้น ส่วนการป้องกันทำได้โดยผสม วิตามิน เอ ชนิดแคปซูลลงไปในอาหารเม็ดสำหรับเต่าบ้าง หรือบางท่านก็ให้ตับ ต้มกับเต่าเป็นอาหารเสริมครับ

จุดหนองสีเหลืองกระจายตามตัว ซึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ภาวะนี้ก็เช่นเดียวกันที่พบใน เต่าเล็ก ส่วนใหญ่พบหลังเพิ่งซื้อมาไม่เกินหนึ่งเดือน เต่าจะไม่กิน อาหาร , นอนซึม ,ไม่ว่ายน้ำ , มีจุดหนองสีเหลืองกระจายตามตัวยกเว้นส่วน กระดอง ต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน เพราะมีหลายตัวที่มารักษาไม่ทัน เสียชีวิตไปเสียก่อน สาเหตุเกิดจากการเลี้ยงเต่าที่แออัดเกินไป , น้ำที่ ใช้เลี้ยงสกปรก รวมถึงการให้อาหารที่ไม่ถูกต้องด้วยครับ

เนื้อตัวบวมออกมาจากกระดอง เพราะ ได้รับโปรตีนมากเกินไป หลาย ๆ ท่านคงเคยพบภาวะนี้ แต่เรามักคิดว่าเต่า อ้วน ซึ่งความจริงแล้ว ไอ้ที่ป่อง ๆ ออกมานั้นมิใช่ไขมัน แต่เป็นของเหลว ใส อันเนื่องมาจากภาวะท้องมานและไตวาย โดยปกติการให้อาหารจำพวกโปรตีนแก่ เต่าเล็ก ๆ นั้นเป็นเรื่องดี แต่บางครั้งมันมากเกินไปจนทำให้ไตทำงานหนัก เกินไปจนสูญเสียหน้าที่ได้ ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้ง่ายแต่แก้ไขได้ยาก ครับ

กระดองบิดผิดรูป มาจากการขาดแคลเซียมและแสง แดด ท่านทราบหรือไม่ว่าองค์ประกอบของการสร้างกระดองและโครงกระดูกของเต่า นั้น ประกอบด้วย แคลเซี่ยมที่เพียงพอจากอาหาร , วิตามินดีที่เพียงพอและ แสงแดดอย่างสม่ำเสมอ ถ้าองค์ประกอบดังกล่าวเหล่านี้ขาดหรือบกพร่องไป ก็จะ ส่งผลอย่างแน่นอน ดังเช่นหลายท่าน เลี้ยงเต่าแก้มแดงไว้ในห้องหรืออยู่แต่ ภายในบ้าน และก็ให้อาหารเม็ดแต่อย่างดียว นำไปตากแดดบ้างบางครั้ง เต่าก็ สามารถเติบโตได้ แต่รูปทรงกระดองก็จะไม่สวยงามตามสายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะพบ ว่าขอบกระดองบิดขึ้นด้านบน , แขนขาโค้งงอ บางตัวถึงขั้นกระดองบิดจนกระดูก สันหลังบิดไปด้วย สองขาหลังจึงใช้ไม่ได้และเป็นอัมพาตในที่สุด ทางที่ดี ที่สุดคือการป้องกัน ด้วยการให้อาหารที่ถูกต้องและนำเต่ามาตากแดดอย่างสม่ำ เสมอ โดยเราจะสังเกตว่า เต่าที่เลี้ยงในบ่อกลางแจ้งจะไม่พบปัญหานี้เลย ครับ

กัดทะเลาะกันเป็นแผลตามตัว อันนี้ถือเป็น เรื่องปกติ แต่ส่งผลถึงขนาดของสถานที่เลี้ยงว่าไม่เพียงพอต่อจำนวนเต่าหรือ คับแคบเกินไปนั่นเอง ส่วนแผลต่าง ๆ ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์นะ ครับ

บทความสุดท้ายจากคุณหมอ
สุดท้ายขอให้ท่านโปรดจำไว้ ว่า เต่าแก้มแดงนี้เป็นสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือไม่ใช่เต่าของไทยนั้น เอง เพราะฉะนั้น เมื่อท่าน ๆ ซื้อหามาเลี้ยงแล้ว ขอได้โปรดเลี้ยงเขาไป จวบจนสิ้นอายุขัย หรือจะเปลี่ยนเจ้าของก็ได้ แต่ต้องเป็นสัตว์เลี้ยงตลอด ไป เพราะถ้าท่านนำเต่าแก้มแดงไปปล่อยตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย จะทำ ให้เกิดการสูญเสียสมดุลย์ทางธรรมชาติอย่างมาก เพราะเต่าแก้มแดงเป็นเต่าที่ ปรับตัวได้ดีมาก สามารถอยู่ได้ในแหล่งน้ำหลายพื้นที่ของประเทศไทย เพราะ ฉะนั้นจึงสามารถเบียดเบียนพื้นที่การหากินและวิถีชีวิตของเต่าพื้นเมืองของ ไทย ไม่ว่าจะเป็นเต่าบึงหัวเหลือง , เต่าบัวและเต่าหับ เป็นต้น ในระยะ ยาวอาจส่งผลให้เต่าพื้นเมืองของบ้านเราสูญพันธุ์ไปก็ได้ครับ

"ไซเชเดลิกา" ปลาหน้าตาเหมือนกบ สปีชีส์ใหม่ในทะเลอินโด

"ไซเชเดลิกา" ปลาหน้าตาเหมือนกบ สปีชีส์ใหม่ในทะเลอินโด

"ไซเชเดลิกา" ปลาหน้าตาเหมือนกบ สปีชีส์ใหม่ในทะเลอินโด

ปลาหน้าตาประหลาด สีเหลือง หน้าแบน มีอวัยวะคล้ายขา ลวดลายเหมือนม้าลาย และชอบกระโดดอยู่บนพื้นทะเลน้ำตื้น ในเกาะอัมบอนของอินโดนีเซีย เป็นตระกูลปลากบที่ได้รับการจำแนกสปีชีส์ใหม่จากนักวิจัยวอชิงตัน เป็น "ไซเชเดลิกา" หลังครูสอนดำน้ำไปพบเมื่อปีก่อน

ปลาหน้าตาประหลาด สีเหลือง หน้าแบน เท็ด เพียตส์ช (Ted Pietsch) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) สหรัฐฯ ได้จำแนกสปีชีส์ ให้กับปลาที่พบบริเวณน้ำตื้นของเกาะอัมบอน ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย ที่พบโดยครูสอนดำน้ำของบริษัททัวร์เมื่อปีที่แล้ว และทางบริษัททัวร์ได้ติดต่อมายังศาสตราจารย์แห่งวอชิงตันผู้นี้

เขาได้ตั้งชื่อปลาชนิดใหม่นี้ว่า "ไซเชเดลิกา" (psychedelica) และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านวารสารโคเปีย (Copeia) ของสมาคมนักสัตวศาสตร์ด้านปลาและสมาคมนักสัตวศาสตร์ด้านสัตว์ครึ่งบกครึ่ง น้ำอเมริกัน (American Society of Ichthyologists and Herpetologists)

ปลาไซเดลิกามี หน้าตาประหลาด เด้งได้เหมือนลูกบอลยาง อยู่บริเวณพื้นมหาสมุทร จัดเป็นปลากบ (frogfish) ชนิดหนึ่ง มีลายรอบตัวเหมือนม้าลายสีน้ำตาลไหม้ และสีลูกพีช ซึ่งพาดยาวจากดวงตาสีน้ำทะเลไปปลายหาง มีขนาดประมาณกำปั้น ร่างกายปกคลุมด้วยผิวหนังย่นๆ เป็นวุ้นหนาๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากปะการังที่แหลมคม มีใบหน้าแบนและดวงตามองตรงเหมือนคน อีกทั้งยังมีปากที่อ้าได้กว้าง

เพียตส์ชจำแนกสปีชีส์ของปลาชนิดใหม่ด้วยดีเอ็นเอ ซึ่งปลาดังกล่าวจัดอยู่ในจีนัสหรือตระกูลฮิสทิโอฟไรน์ (Histiophryne) และเช่นเดียวกับปลากบอื่นๆ ที่มีครีบทั้ง 2 ข้างของลำตัว ซึ่งวิวัฒนาการไปเป็นอวัยวะคล้ายขา

แต่ก็มีบางพฤติกรรมที่เขาเขียนไว้รายงานว่า แตกต่างไปจากปลากบอื่นๆ ที่รู้จัก แต่ละครั้งที่ปลากบสปีชีส์ใหม่นี้กระแทกพื้นทะเล มันก็จะกางครีบออกแล้วพ่นน้ำออกจากเหงือก เพื่อส่งตัวเองให้พุ่งไปข้างหน้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แปลกประหลาดและดูวุ่นวาย
ปลาหน้าตาประหลาด สีเหลือง หน้าแบน

"ผม คิดว่าคนทั่วไปต้องนึกว่าปลากบก็เหมือนๆ กัน อย่างที่รู้จักดีแล้ว แต่ปลากบชนิดใหม่นี้

เป็นอะไรที่น่าประทับใจจริงๆ มันเป็นสัตว์ที่น่าทึ่ง และลายพรางของมัน น่าจะเป็นการลอกเลียนปะการัง

อีกทั้งยังเป็นการบอกด้วยว่าความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่นี้ มากมายแค่ไหน และ

ความจริงที่ว่ายังมีอะไรที่เราไม่รู้อีกมากที่นี่ ที่อินโดนีเซียและสามเหลี่ยมปะการัง (Coral Triangle)"

ความเห็นจากมาร์ก เอิร์ดมาน (Mark Erdman) ที่ปรึกษาอาวุโสจากโครงการทางทะเลขององค์กรอนุรักษ์สากล

(Conservation International).

งูชนิดใหม่ใต้ก้อนหิน

งูชนิดใหม่ใต้ก้อนหิน

งูชนิดใหม่เล็กสุดในโลก ตัวเป็นเส้นเท่าสปาเก็ตตี

หางานสัตวเเพทย์เเมวสุนัขชึการ์
งู เส้นด้ายชนิดใหม่ของโลกที่พ่วงตำแหน่งงูขนาดเล็กสุดในโลกด้วย ลำตัวผอมบางราวเส้นสปาเก็ตตี มีความยาวไม่เกิน 10 ซม. ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบงูชนิดนี้บนเกาะบาร์เบโดส (ภาพจาก AP)

นัก สัตววิทยามะกันตื่นเต้น พบงูชนิดใหม่ใต้ก้อนหินบนเกาะบาร์เบโดส เล็กสุดๆ เท่าเส้นสปาเก็ตตี ยาวเต็มที่ไม่เกิน 10 ซม. แต่ไม่มีพิษ จัดอยู่ในกลุ่มงูเส้นด้ายที่พบมากในเขตร้อน

สำนักข่าวเอพีและรอยเตอร์รายงานว่านักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาพบงู สายพันธุ์ใหม่ขนาดเล็กที่สุดในโลก โตเต็มที่มีความยาวเพียง 10 เซนติเมตร และผอมบางขนาดเส้นสปาเก็ตตี โดยพบที่ประเทศบาร์เบโดส (Barbados) และได้ตีพิมพ์ผลการค้นพบและวิเคราะห์พันธุกรรมของงูในวารสารซู แทกซา (Zootaxa)

เบลร์ เฮดจ์ส (Blair Hedges) นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania State University) หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบงูขนาดเล็กสุดในโลกเผยว่า พวกเขาพบงูดังกล่าวบนเกาะของประเทศบาร์เบโดส ซึ่งแอบซ่อนอยู่ใต้ก้อนหินในเขตพื้นที่ป่าจำนวน 2 ตัว มีลำตัวบางราวเส้นสปาเก็ตตี และมีขนาดสั้นกว่างูขนาดเล็กอีกชนิดหนึ่งที่พบบนเกาะมาร์ตินีก (Martinique) ราว 5 มิลลิเมตร ซึ่งรั้งตำแหน่งงูขนาดเล็กสุดอันดับ 2 ไปทันที

เมื่อวิเคราะห์ลักษณะแล้วพบว่าอยู่ในกลุ่มงูเส้นด้าย (thread snakes) ซึ่งมีอยู่กว่า 300 สปีชีส์ จากงูที่รู้จักทั้งหมดกว่า 3,100 สปีชีส์ แต่จากการวิเคราะห์ดีเอ็นเองูชนิดดังกล่าวพบว่าเป็นสปีชีส์ใหม่ และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ว่า เลปโตไทฟลอพส์ คาร์ลี (Leptotyphlops carlae) ตามชื่อคาร์ลา แอนน์ แฮสส์ (Carla Ann Hass) นักสัตววิทยาด้านสัตว์เลื้อยคลาน ภรรยาของเขา

งูเส้นด้ายชนิดนี้จัดเป็นงูที่ไม่มีพิษ มีสีน้ำตาลเข้ม มีริ้วสีเหลืองพาดผ่าน 2 ริ้ว เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร กินพวกปลวกและตัวอ่อนของแมลงต่างๆ เป็นอาหาร ส่วนพฤติกรรมอื่นๆ นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด

ด้านรอย แมคไดอาร์มิด (Roy McDiarmid) นักสัตววิทยาและเจ้าหน้าที่ส่วนสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำของ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสมิธโซเนียน (Smithsonian's National Museum of Natural History) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่างูเส้นด้ายเกือบทั้งหมดพบในเขตร้อน

อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตกันว่าสัตว์หลายชนิดที่พบในพื้นที่หมู่เกาะแถบ แคริบเบียนมักมีขนาดใหญ่มากหรือเล็กมาก ซึ่งอาศัยอยู่ในช่องว่างของระบบนิเวศน์ที่ปราศจากสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นผู้ ล่าหรือผู้ที่แข่งขันกันในการดำรงชีวิต

"ค้างคาวแวมไพร์"

"ค้างคาวแวมไพร์"

"ค้างคาวแวมไพร์" เจ้าอยู่ได้อย่างไร ถ้าแค่ดูดเลือดเพียวๆ !?

ค้าวคาวแวมไพร์ดูดเลือดvampire

สงสัยกันหรือไม่ว่า "ค้างคาวแวมไพร์" มีชีวิตอยู่ได้อย่างไร แค่ดูดเลือดเป็นอาหารอย่างเดียว งานวิจัยด้านพันธุศาสตร์ล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ได้ศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของ "นกมีหู หนูมีปีก" นี้ ช่วยให้ค้างคาวมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการดูดเลือดเพียวๆ

กุญแจ สำคัญที่ทำให้ค้างคาวแวมไพร์มีชีวิตอยู่ได้ ด้วยการดูดเลือดอย่างเดียว ก็คือการที่เลือดซึ่งเป็นอาหารอย่างเดียวของมันไม่แข็งตัว โดยนิวไซแอนทิสต์รายงานว่า ค้างคาวรักษาเลือดที่ดูดกินไม่ให้แข็งตัว โดยอาศัยยีนซึ่งพบในสัตว์ชนิดอื่นที่เรียกว่า "พลาสมิโนเจน แอคทีเวเตอร์" (plasminogen activator) หรือพีเอ (PA)

สำหรับ ในคนแล้ว ยีนดังกล่าวช่วยป้องกันภาวะหัวใจวาย โดยการผลิตโปรตีนที่สลายลิ่มเลือด และเคลียร์พื้นที่ภายในหลอดเลือด และก่อนหน้านี้ก็มีงานวิจัยที่ชี้ว่า ยีนนี้ทำงานได้ในน้ำลายของค้างคาวแวมไพร์ด้วย

อย่างไรก็ดี เดวิด ไลเบอร์เลส (David Liberles) นักพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไวโอมิงในลารามี (University of Wyoming in Laramie) สหรัฐฯ กล่าวว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กและมีปีกนี้ ได้ดัดแปลงยีนพลาสมาเจน แอคทิเวเตอร์ หลังจากแยกสายวิวัฒนาการออกมาจากค้างคาวที่กินผลไม้และแมลง

คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย


ค้าวคาวแวมไพร์ดูดเลือดvampire ค้าวคาวแวมไพร์ดูดเลือดvampireค้าวคาวแวมไพร์ดูดเลือดvampire



ทั้งนี้เราพบค้างคาวแวมไพร์ได้ในบริเวณระหว่างอเมริกาใต้และอเมริกา เหนือ และจะดูดเลือดจากนกและปศุสัตว์อย่างตะกละตะกลาม ซึ่งทีมวิจัยของไลเบอร์เลสได้เลือกค้างคาว 3 สปีชีส์ ซึ่งมีพฤติกรรมเหมือนแวมไพร์

เหยื่อของค้าวคาวแวมไพร์ขาขน (Hairy-legged vampire bat) คือ นกเท่านั้น ขณะที่ญาติใกล้ๆ สำเนา แต่ทีมวิจัยของลิเบอร์เลสก็ไม่เข้าใจนักว่าทำไม ส่วนค้างคาวแวมไพร์อีก 2 สปีชีส์ที่เหลืออยู่ภายใต้การคัดเลือกทางวิวัฒนาการอย่างเหนียวแน่น ไม่ใช่จากการกลายพันธุ์ แต่อยู่ภายใต้ความจำเป็นทางชีววิทยาเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ยีนพีเอเสื่อมถอยลงได้ หากขาดการใช้งาน ซึ่ง บรูซ แพทเทอร์สัน (Bruce Patterson) นักสัตววิทยาจากพิพิธภัณฑ์ฟิลด์ (Field Museum) ในชิคาโก สหรัฐฯ ระบุว่า การปรับตัวมีบทบาทสำคัญ ต่อวิวัฒนาการของพฤติกรรมแบบแวมไพร์อย่างไม่ต้องสงสัย

อีกทั้งเขาให้ข้อมูลว่า สัตว์แวมไพร์ตัวแรกอุบัติขึ้นบนโลกเมื่อ 26 ล้านปีมาแล้ว โดยบอกได้จากหลักฐานที่เป็นซากฟอสซิล และสัตว์ชนิดนั้นก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับค้างคาวกินแมลง ซึ่งในยุคนั้นอาจจะกินสัตว์อื่นๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์

คลิ๊กเพื่อขยายรูป

ต่างไปจากค้างคาวอื่นๆ ค้างคาวแวมไพร์ จะมีฟันหน้าที่คมราวมีดอวดหลาอยู่ ซึ่งแพทเทอร์สันระบุถึงความคมของฟัน ค้างคาวแวมไพร์ว่า กะโหลกของเวมไพร์ซึ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นั้นแหลมคมพอที่จะบาดมือเราได้ และลิ้นของค้างคาวนี้ก็มีร่องพิเศษที่ช่วยให้เลือดซึ่งเป็นอาหารไหลผ่านหลอด เลือดฝอยได้ ไม่ใช่การดูดกินจ๊วบๆ อย่างที่เข้าใจ

"พวกมันเป็นสัตว์ที่น่าทึ่งจริง" แพทเทอร์สันกล่าว

ด้านลิเบอร์เลสกล่าวว่า หนึ่งในความท้าทายในการประเมินว่าคุณลักษณะอย่างนี้วิวัฒนาการขึ้นเมือใด และอย่างไรนั้นยังขาดข้อมูลพันธุกรรมของค้างคาวแวมไพร์อยู่ และศูนย์สำหรับทำลำดับพันธุกรรมก็ศึกษาเพียงจีโนมของค้างคาวสีน้ำตาลขนาด เล็กเท่านั้น

"โครงการจีโนมค้างคาวแวมไพร์ท่าจะเยี่ยมนะ" ไลเบอร์เลสกล่าว แม้ว่าเขารู้ดีว่าไม่มีโครงการที่จะถอดรหัสพันธุกรรมค้างคาวแวมไพร์ ให้นักวิทยาศาสตร์ได้กระเทาะคำแนะนำหนังสือ "กลายเป็นค้างคาวแวมไพร์" อย่างแน่นอน

แมงมุมแม่ม่าย

แมงมุมแม่ม่าย

พลิกปูมแมงมุมแม่ม่าย หมาแมวร้ายกว่าอย่ากลัว

ข่าวหน้า 1 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่าน.....ได้ เสนอเรื่องของ แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล เพชฌฆาตแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแม่กลองกำลังอาละวาด ซึ่งสุดอันตรายพิษร้ายกว่า งูเห่า 3 เท่า...และยังไม่มีเซรุ่มหรือยาถอนพิษ.....เลยสร้างความวิตกกังวลและกระแส ความกลัวกระพือไปทั่วประเทศ...!!!
หลายชีวิต พบกับ ผศ.น.สพ.คัมภีร์ พัฒนะธนัง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้แนะนำให้รู้ข้อเท็จจริงว่า “แมงมุม” นั้นพบกันทั่วโลก
แมงมุมแม่ม่าย มีทั้ง สีน้ำตาล และ สีดำ ลักษณะลำตัวเป็นมัน ตัวเมียขนาดประมาณ 30-40 มิลลิเมตร ตัวผู้
มี ขนาดเล็กกว่าประมาณ 16-20 มิลลิเมตร มีลวดลายคล้ายรูปนาฬิกาทราย สีแดงส้มอยู่ด้านใต้ส่วนท้อง...หลังผสมพันธุ์ หากตัวผู้ไม่รีบหนีจะถูกตัวเมียจับกินทันที จึงเป็นที่มาของชื่อว่า...ม่ายพิษ ของแมงมุมแม่ม่ายจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง หากถูกกัดจะทำให้ ผิวหนังตาย มีเลือดออกตามอวัยวะภายในต่างๆ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้รักแร้ ขาหนีบ มีการอักเสบกดรู้สึกเจ็บมีเหงื่อออก ขนลุก ความดันโลหิตสูง ลักษณะรอยกัดสีเขียวช้ำและมีจุดแดงขึ้นให้เห็น และมี อาการเฉพาะของพิษ คือ อ่อนแรง สั่น ปวดกล้ามเนื้อและเกร็ง ท้องแข็ง เป็นอัมพาต ซึมและชักสำหรับผู้ที่แพ้พิษรุนแรง




*แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล*



*แมงมุมแม่ม่ายดำ*

การรักษาบำบัดพิษ กระทำ โดยล้างชำระแผลให้สะอาด ไม่ขยับแขนขาที่ถูกกัด พันด้วยผ้าพันแผลเพื่อลดการกระจายของพิษ ประคบบริเวณแผลด้วยน้ำแข็ง อาจระงับอาการด้วยยาแก้ปวด ถ้ารุนแรงใช้ยาต้านพิษ Lyovac ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ หรือฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักร่วมยาปฏิชีวนะ
ผศ.น.สพ .คัมภีร์ พัฒนะธนัง บอกถึงแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาลและดำว่า ในส่วนตัวแล้วไม่เคยเลี้ยงแมงมุมชนิดนี้ เนื่องจากมันเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไว ไม่ค่อยอยู่นิ่ง อีกทั้งมีลำตัวขนาดเล็ก....
ส่วนพิษที่บอกว่ารุนแรงกว่างูเห่าหลายเท่า
นั้นคงจะตอบไม่ได้ ต้องให้ผู้ทำวิจัยบอกเองจะดีกว่า แต่เท่าที่ทราบแมงมุมชนิดต่างๆที่มีอยู่ทุกวันนี้ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
อีก ทั้งยังมีคุณอเนกอนันต์ ต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะมันไม่กินพืชผัก แต่กินพวกเพลี้ย หนอน และแมลงศัตรูพืช หากเปรียบเทียบกับ หมา แมว และ หนู สัตว์พวกนี้น่ากลัวกว่าเยอะ...เพราะโรคสัตว์สู่คนหรือ Zoonosis มีมากมายหลายชนิดและอันตรายกว่าเป็นไหนๆ...!!!

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

หิ่งห้อยชนิดใหม่ กะพริบไฟสื่อภาษารัก

หิ่งห้อยชนิดใหม่ กะพริบไฟสื่อภาษารัก

นักวิจัย มก.พบหิ่งห้อยชนิดใหม่ กะพริบไฟสื่อภาษารักได้ 4 ท่า

หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
(ภาพจาก สกว.)
หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
หิ่งห้อย "ลูซิโอลา อะควอติลิส" ตัวผู้ (ภาพจาก สกว.)
หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
(ภาพจาก สกว.)
นัก วิจัย ม.เกษตรพบหิ่งห้อยน้ำจืดสายพันธุ์ใหม่ สื่อภาษารักได้ถึง 4 แบบ ไม่เหมือนชนิดใดๆ ในโลก ทั้งกะพริบไฟแต่งตัว หาคู่ เกี้ยวพาราสี และผสมพันธุ์ พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ พร้อมโชว์ในสัปดาห์วิทย์ปีนี้

เพื่อฉลองการค้นพบ และเพาะพันธุ์หิ่งห้อยน้ำจืดพันธุ์ใหม่ของโลกได้สำเร็จในประเทศไทย จึงเป็นที่มาของการเสวนาคุยกัน...ฉันท์วิทย์ "ถอดรหัสงานวิจัยหิ่งห้อย: ปริศนาการกะพริบแสงสู่ความสำเร็จของการเพาะเลี้ยง" ขึ้นโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 23 ก.ค.51 ณ ห้องโถงกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กรุงเทพฯ

ดร.อัญชนา ท่านเจริญ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยหิ่งห้อยในโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เผยว่า ได้ ค้นพบหิ่งห้อยน้ำจืด สายพันธุ์ใหม่ของโลก ตามแหล่งน้ำนิ่งตามธรรมชาติ คูน้ำ และท้องร่องของพื้นที่เกษตรกรรม ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ อาทิ ชานเมืองกรุงเทพฯ อย่างเขตบางแค หรือ ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม รวมถึงแหล่งน้ำใน จ.ราชุบรี จ.นครปฐม และ จ.สุพรรณบุรี ฯลฯ

นักวิจัยการศึกษาด้านชีววิทยาและพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของหิ่งห้อยน้ำ จืด เผยว่า เมื่อกว่า 10 ปีก่อนต่างเชื่อกันว่าหิ่งห้อยดังกล่าว เป็นหิ่งห้อยน้ำจืดสายพันธุ์ "ลูซิโอลา บราห์มินา" (Lucilola brahmina) ที่มีการค้นพบมาก่อนแล้ว

อย่างไรก็ดี เมื่อมีการศึกษาจนเสร็จสิ้นเมื่อกว่า 2 ปีก่อนพบว่า หิ่งห้อยที่ว่าไม่สามารถจัดอยู่ในสายพันธุ์ดังกล่าวได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อใหม่คือ "ลูซิโอลา อะควอติลิส" (Luciola Aquatilis)

"ลูซิโอลา อะควอติลิส" มีจุดเด่นคือ ที่โคนปีกมีสีน้ำตาลเข้มเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า ตัว อ่อนทำหน้าที่เป็นผู้ล่าหอยน้ำจืด ที่เป็นพาหะนำโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคพยาธิใบไม้ในลำไส้ อีกทั้งยังถือเป็นศัตรูพืชหลายชนิด โดยตัวอ่อนมีรูปร่างแตกต่างกันถึงสามแบบซึ่งไม่พบในสายพันธุ์ใดมาก่อน

ที่ สำคัญ หิ่งห้อยสายพันธุ์ใหม่นี้ ยังสื่อสารภาษารักได้แตกต่างกันถึง 4 แบบ แบ่งเป็นช่วงแต่งตัว ช่วงหาคู่ ช่วงเกี้ยวพาราสี และช่วงผสมพันธุ์ จึงถือเป็นจุดแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่พบในหิ่งห้อยสายพันธุ์ อื่นๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา ซึ่งจะกะพริบแสงได้เพียงแบบเดียว โดยหิ่งห้อยชนิดนี้จะมีวงจรชีวิตระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัยระหว่าง 3-5 เดือน

ดร.อัญชนา เผยด้วยว่า การศึกษายังพบความน่าสนใจของลูซิโอลา อะควอติลิส ในฐานะดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ และคุณภาพของแหล่งน้ำนิ่งตามธรรมชาติด้วย เนื่องจากหิ่งห้อยที่ ดร.อัญชนาศึกษาอยู่ จะสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเสียได้ระดับหนึ่ง แต่ หากระดับความเน่าเสียเพิ่มขึ้น ตัวอ่อนหิ่งห้อยจะคลานขึ้นบกเพื่อหาแหล่งน้ำใหม่ เป็นคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดจึงสามารถค้นพบหิ่งห้อยดังกล่าวได้ทุกภาคของ ประเทศ

ทั้งนี้ นักวิจัย กล่าวว่า ได้มีการประกาศผลการค้นพบดังกล่าวแล้วในวารสาร "ซูแทกซา" (Zootaxa) ซึ่งเป็นวารสารนานาชาติ ที่ตีพิมพ์รายงานการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ฉบับเดือนสิงหาคม 2550 โดยได้ระดมผู้เชี่ยวชาญในการตั้งชื่อสายพันธุ์หิ่งห้อย อีกทั้งได้รับการยอมรับการเป็นสายพันธุ์ใหม่จากผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธาน หิ่งห้อยระดับโลกจากประเทศออสเตรเลียและไต้หวัน

"หาก ไม่มีการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่ปัจจุบันของหิ่งห้อยแล้วก็เชื่อว่าแนวโน้มที่ จะหมดไปมีมาก เช่น การขยายตัวของเขตเมืองไปยังที่ที่ยังรกร้าง และแสงไฟรบกวนจากบ้านเรือน จึงต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการอนุรักษ์พื้นที่นั้นๆ ไม่รบกวน และรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ให้อยู่ในสภาพที่ดีเพื่อช่วยกันอนุรักษ์ หิ่งห้อย" ดร.อัญชนาว่า

นอกจากนี้ ขณะ นี้ได้มีการค้นพบเทคนิค อุปกรณ์ และอาหารเพาะเลี้ยงหิ่งห้อยดังกล่าวแล้ว ที่โรงเพาะเลี้ยงของภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจะมีการยื่นจดสิทธิบัตรคุ้มครองในอนาคต จากปัจจุบันมีความเชื่อว่าหิ่งห้อยจะมีสรรพคุณรักษาโรคหอบหืดได้ และล่าสุด ประเทศสหรัฐอเมริกาและรัสเซียยังได้แสดงความสนใจติดต่อนำเข้าหิ่งห้อยของไทย เพื่อทำสวนหิ่งห้อยสำหรับการศึกษาของเยาวชน

ด้านอาจารย์สมหมาย ชื่นราม คณะกรรมการพิเศษโครงการหิ่งห้อยในพระราชดำริ และอดีตผู้เชี่ยวชาญด้านศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร เล่าประสบการณ์ในโครงการว่า ได้มีการเริ่มต้นศึกษาหิ่งห้อยเมื่อปี 40 หรือกว่า 10 ปีก่อน โดยทำการศึกษาหิ่งห้อยทั้ง 3 ชนิดจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย คือ หิ่งห้อยน้ำจืด หิ่งห้อยบก และหิ่งห้อยน้ำกร่อย พบ ว่าในอดีตประเทศไทยมีหิ่งห้อยค่อนข้างมาก แตกแตกต่างกับปัจจุบันที่หิ่งห้อยเหลือน้อยลงทุกที เชื่อว่าเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม

อย่างไรก็ดี ในประเทศไทยยังขาดการศึกษาอย่างลึกซึ้งอีกบางด้านเช่น ผลกระทบของเสียงรบกวนต่อหิ่งห้อย เป็นต้น

สำหรับผู้สนใจชมหิ่งห้อยน้ำจืดสายพันธุ์ใหม่ของไทยสามารถติดตามชมได้ภายใน งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 51 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 8-22 ส.ค.51

นอก จากนั้นระหว่างวันที่ 26-30 ส.ค.51 ประเทศไทยโดยองค์การสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ยังได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหิ่งห้อยครั้งที่ 2 ของโลก ที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในฐานะผู้ ริเริ่มโครงการศึกษาหิ่งห้อยของไทยทรงมีพระชนมพรรษาครบ 75 ปีในปีนี้.

ครั้งแรก ! พบปะการังเปลี่ยนเพศ ปรับตัวสู้โลกร้อน

ครั้งแรก ! พบปะการังเปลี่ยนเพศ ปรับตัวสู้โลกร้อน

ครั้งแรก ! พบปะการังเปลี่ยนเพศ ปรับตัวสู้โลกร้อน

หางานสัตวเเพทย์สัตว์เลี้ยงดเเมวสุนัข
ปะการังดอกเห็ดเพศเมียในสปีชีส์ C. echinata ขณะกำลังปล่อยไข่ออกมาในน้ำรอบๆตัวเพื่อผสมพันธุ์ (ภาพจาก AFTAU)
นัก วิทย์อิสราเอลเผย พบปะการังเปลี่ยนเพศได้ คล้ายกับพืชบางชนิด ที่ต้องปรับตัวให้อยู่รอด ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบพฤติกรรมนี้ในปะการัง คาดสาเหตุ มาจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องเปลี่ยนจากเพศเมียเป็นเพศผู้ เพราะทนทานต่อแรงกดดันได้ดีกว่า และใช้พลังงานน้อยกว่า

การค้นพบพฤติกรรมการเปลี่ยนเพศในปะการังดอกเห็ด (mushroom coral หรือ fungiid coral) เป็นผลงานของ ศาสตราจารย์ยอสซี โลยา (Prof. Yossi Loya) ภาควิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv University) ประเทศอิสราเอล ที่พบว่าปะการังดังกล่าวมีการเปลี่ยนเพศ เพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบกรณีแบบนี้ในปะการัง และได้ตีพิมพ์ในวารสารราชบัณฑิตยสภาอังกฤษฉบับบี (Proceedings of the Royal Society B) ตามที่ระบุในเว็บไซต์ไซน์เดลี

ศาสตราจารย์โลยา อธิบายเรื่องนี้ว่า เมื่อเวลาที่สภาพอากาศร้อนอย่างรุนแรง ปะการังดอกเห็ดเพศเมีย จะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นเพศผู้ ที่สามารถต่อสู้กับสภาวะเเร้นแค้น หรือมีแรงกดดันจากธรรมชาติได้มากกว่าปะการังเพศเมีย ซึ่งกรณีนี้พบได้ในกล้วยไม้และพืชบางชนิด

"ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนเพศ จะเป็นวิวัฒนาการอย่างหนึ่งของปะการังบางชนิด เนื่อง จากปะการังเพศผู้ สามารถทนต่อสภาวะโหดร้ายได้มากกว่า เมื่อผ่านช่วงนั้นไปได้และสภาพแวดล้อมกลับมาเหมาะสมเช่นเดิม ปะการังเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนกลับมาเป็นเพศเมียดังเดิม" ศาสตราจารย์โลยา อธิบาย

"ที่เป็นเช่นนี้เพราะปะการังเพศผู้ใช้พลังงานในการดำรงชีวิตน้อยกว่า ปะการังเพศเมีย และเมื่อมันสามารถเปลี่ยนเพศได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จะทำให้สิ่งมีชีวิตนี้มีความพยายามในการสืบพันธุ์อย่างมากที่สุด" ศาสตราจารย์โลยา กล่าวต่อ

ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ แต่ก็ยังมีพฤติกรรมบางอย่างคล้ายกับพืช และนอกเหนือจากสีสันสวยสดงดงามแล้ว ปะการังยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทะเลชนิดอื่นอีกหลากหลายชนิด พันธุ์ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญให้ของมนุษย์

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันแนวปะการังใต้ทะเลหลายแห่งถูกทำลายลง ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งมีแนวปะการังถึง 1 ใน 4 ส่วนจากทั่วโลกเสียหายไปแล้ว

จากการค้นพบว่า ปะการังสามารถเปลี่ยนเพศได้ จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาวิธีการขยายพันธุ์ปะการังให้ได้ ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างใหญ่หลวง ตามที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์กันไว้

"องค์ความรู้นี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง กับนักเพาะพันธุ์ปะการัง ซึ่งปะการังดอกเห็ดนั้นจัดเป็นปะการังที่ค่อนข้างแข็งแรง หากเรารู้สภาวะในการสืบพันธุ์ของมัน เราก็สามารถขยายพันธุ์เพิ่มได้เป็นจำนวนมาก" ศาสตราจารย์โลยา กล่าว ซึ่งเขาศึกษาเรื่องปะการังมานานกว่า 35 ปี และขณะนี้ก็กำลังดำเนินโครงการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยให้ปะการังในทะเลแดง

มีสิทธิ์ทำ "ทูนา" เกลี้ยงทะเล

มีสิทธิ์ทำ "ทูนา" เกลี้ยงทะเล

ฮิตกินซูชิกันทั่วโลก มีสิทธิ์ทำ "ทูนา" เกลี้ยงทะเล

หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์

เฉพาะ ญี่ปุ่นชาติเดียวก็แย่แล้ว จีน-ฝรั่ง ยังฮิตกินซูชิและซาชิมิตามพี่ยุ่นอีก นักอนุรักษ์หวั่นเป็นเหตุทำทูนาสูญพันธุ์จากเมดิเตอร์เรเนียน หลังเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันมาแล้วกับทูนาแถบออสเตรเลีย

หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
ทูนาที่กลายมาเป็นปลาดิบในอาหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่จับได้จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่ง 80-85% ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น (ภาพจาก AFP)
หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
ชาว ญี่ปุ่นบริโภคทูนากันมากจนเป็นเหตุให้ทูนาแถบออสเตรเลียหายไปเกือบหมด นักอนุรักษ์ก็กังวลอีกว่าทูนาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก็อาจหมดไปในไม่ช้าถ้า ยังล่ากันมากอย่างทุกวันนี้ 50,000 ตันต่อปี ต่อไปเรื่อยๆ (ภาพจาก AFP)

ปัจจุบัน อาหารญี่ปุ่นแพร่หลายไปทั่วโลก โดยซูชิและซาชิมิหรือปลาดิบ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงและต่อเนื่องจากทั้งชาวตะวันตก รวมถึงชาวญี่ปุ่น ซึ่งในรายงานจากสำนักข่าวเอเอฟพีระบุว่า ปลาทูนา (bluefin tuna) ที่รวมอยู่ในจานเด็ดดังกล่าว ส่วนใหญ่จับมาจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้หลายฝ่ายกังวลกันว่า อาจทำให้ปลาชนิดนี้สูญพันธุ์ไปจากถิ่นที่อยู่ของพวกมันได้ ในไม่ช้านี้ เพราะถูกล่ามากเกินพอดี

โรเบอร์โต มิเอลโก เบรกัซซี (Roberto Mielgo Bregazzi) ผู้เชี่ยวชาญชาวสเปน ซึ่งเขียนรายงานให้กับกรีนพีซและกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund) หลายครั้ง กล่าวว่า ลำพัง การบริโภคปลาดิบของชาวญี่ปุ่นชาติเดียว ก็คุกคามทูนาในเมดิเตอร์เรเนียนอยู่แล้ว นี่ยังเพิ่มความนิยมบริโภคซูชิหน้าปลาดิบของชาวยุโรปและชาวจีนเข้าไปอีก อย่างต่อเนื่อง ยิ่งทำให้ทูนาลดจำนวนลงมากกว่าเดิม

ข้าวปั้นหน้าปลาดิบจากแดนอาทิตย์อุทัย แพร่หลายเข้าไปในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เมื่อราวช่วงทศวรรษที่ 90 และก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับในประเทศจีน ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นานนัก ซึ่งเบรกัซซีได้อ้างรายงานของคณะกรรมาธิการเพื่อการอนุรักษ์ปลาทูนาใน มหาสมุทรแอตแลนติก (International Commission for the Conservation of Atlantic Tunas: ICCAT) ที่สำรวจพบว่ามีการบริโภคเนื้อทูนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นชาติที่มีการบริโภคที่สุด ซึ่งฌอง-มาร์ค โฟรมองแตง (Jean-Marc Fromentin) ผู้เชี่ยวชาญด้านปลาทูนาจากสถาบันวิจัยการใช้ประโยชน์จากทะเลแห่งฝรั่งเศส (French Research Institute for Exploitation of the Sea: IFREMER) เผยข้อมูลว่าปลาทูนาที่จับได้จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมดถูกส่งออกไปยัง ญี่ปุ่นที่เดียวมากถึง 80-85%

ทั้งนี้ การบริโภคซูชิได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ซึ่ง ทูนาที่บริโภคกันในขณะนั้น นิยมใช้ทูนาจากซีกโลกใต้ที่มีอยู่มากมายในเขตน่านน้ำออสเตรเลีย แต่เพราะถูกล่ามาเป็นอาหารของมนุษย์มากเกิน ส่งผลให้ทูนาที่เคยอุดมสมบูรณ์ในแถบนั้นกลายเป็นสิ่งที่หายากยิ่งในปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นจึงบ่ายหน้าไปแสวงหาทูนาในมหาสมุทรแอตแลนติกแทน ซึ่งแหล่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดังกล่าว

ข้อมูลจากคณะกรรมาธิการเพื่อการอนุรักษ์ปลาทูนาในมหาสมุทรแอตแลนติก บ่งชี้อีกว่าเทคโนโลยีการประมงที่ทันสมัยมากขึ้น ทั้งจากในยุโรป ตุรกี และประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกา ส่งผลให้ทุกวันนี้ มีการจับทูนาขึ้นมาจากทะเลรวมแล้วมากกว่า 50,000 ตันต่อปี ขณะที่ปริมาณการจับ ที่จะไม่กระทบต่อปริมาณทูนาในธรรมชาติในระยะสั้นนั้น จะต้องไม่เกิน 15,000 ตันต่อปีเท่านั้น

คาร์ลี โธมัส (Karli Thomas) หนึ่งในอาสาสมัครของกรีนพีซกล่าวว่า อุตสาหกรรมการจับปลาทูนาอย่างเกินขนาดก็เท่ากับการฆ่าตัวเอง เพราะอีกหน่อยก็จะไม่เหลือทูนาให้จับอีกแล้ว และอีกหลายพันคนก็จะต้องตกงาน.

หยิบไพลใส่แชมพูน้องหมา ช่วยกำจัดเห็บหมัดได้ผล

หยิบไพลใส่แชมพูน้องหมา ช่วยกำจัดเห็บหมัดได้ผล

ไพลซิดัล

เห็บหมัดที่คอยกวนใจน้องหมาหลบไป "ไพลซิดัล" มาแล้ว จากผลงานนักวิจัย วว. ผสมน้ำมันไพลในแชมพู โลชัน และสเปรย์ฉีดสุนัขกำจัดเห็บหมัดได้ผลชัวร์ 100% พร้อมลดการอักเสบของผิวหนังเจ้าตัวโปรด เตรียมถ่ายทอดให้เอกชนผลิตเชิงพาณิชย์ ส่งออกสมุนไพรไทยโกอินเตอร์แทนการนำเข้าสารเคมีและเวชภัณฑ์จากนอก

ดร.ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล นักวิชาการ ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ทำวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บ หมัด และต้านการอักเสบในสัตว์จากน้ำมันไพล ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ไพลซิดัล (Plycidal) ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดสำหรับสุนัขที่มีส่วนผสมของน้ำมันไพล ที่มีประสิทธิภาพกำจัดเห็บหมัดได้ยอดเยี่ยม 100% เป็นทางเลือกใหม่ให้คนรักสุนัข ทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าให้สมุนไพรไทยให้ส่งไปขายยังต่างประเทศได้ในรูปแบบใหม่


นักวิจัยให้ข้อมูลว่า เหง้า ไพลนั้นมีน้ำมันหอมระเหยเป็นองค์ประกอบอยู่ 0.8% และจากการทดลองก็พบว่ามีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบได้ จึงน่าจะนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงได้ เพราะยังไม่เคยมีใครที่ไหนนำไพลมาใช้กับผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงมาก่อน โดยต่อยอดจากผลสำเร็จของงานวิจัยเจลขมิ้นชันและสเปรย์ขมิ้นชันสำหรับรักษา โรคผิวหนังสุนัข ที่ช่วยรักษาโรคผิวหนังและอาการอักเสบเป็นหนองของสุนัขได้ ซึ่งได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนผลิตเชิงพาณิชน์ไปแล้ว

"ผลิตภัณฑ์ไพลซิดัล ประกอบด้วย แชมพู สเปรย์ และโลชัน ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์มีน้ำมันไพลเป็นส่วนผสมหลัก โดยแชมพูผสมน้ำมันไพลสำหรับอาบน้ำให้สุนัข จะช่วยให้ขนนุ่ม สะอาด ช่วยกำจัดกลิ่นตัว พร้อมป้องกันและกำจัดเห็บหมัดได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนัง" ดร.ชุลีรัตน์ อธิบายสรรพคุณของไพลซิดัลแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์

สเปรย์ไพลซิดัล ใช้สำหรับฉีดพ่นบริเวณตัวสุนัขและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวสุนัข ซึ่งช่วยกำจัดเห็บตัวอ่อนและหมัดตัวแก่ให้ตายได้ 100% ภายใน 30-60 นาที ส่วนเห็บตัวแก่เพศเมียจะตายลงภายใน 2-3 ชั่วโมง และยังช่วยลดการอักเสบของผิวหนังและกล้ามเนื้อสุนัขได้ ส่วนโลชั่นไพลซิดัลใช้สำหรับนวดหรือทาบนผิวหนังสุนัขโดยไม่ต้องล้างออก ซึ่งจะช่วยกำจัดเห็บตัวอ่อนและหมัดตัวแก่ให้ตายได้ 100% ภายใน 30-60 นาที และช่วยลดการอักเสบของผิวหนังที่ถูกเห็บและหมัดกัดได้เช่นเดียวกัน และให้ผลดีกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์สำหรับสุนัขในท้องตลาดส่วนใหญ่ที่ทำ จากสารเคมีแทบทั้งสิ้น

"ผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิดได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยตามวิธีมาตรฐานโออีซีดี (OECD) แล้ว ซึ่งไม่พบว่าก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและยังมีความปลอดภัยต่อสุนัข และผู้เลี้ยงด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับภาคเอกชนในการนำผลวิจัยไพลซิดัลไป ผลิตเชิงพาณิชน์ โดยบริษัทนี้เป็นบริษัทที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเป็นที่รู้จักในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังช่วยลดการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศด้วย" ด.ชุลีรัตน์ กล่าว

อย่างไรก็ดี นักวิจัยไม่ได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวกับแมว แต่เชื่อว่าน่าจะสามารถนำไปใช้ได้เช่นกันโดยไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โดยธรรมชาติแล้วแมวจะสะอาดกว่าสุนัข และไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเห็บหมัดเท่าใดนัก

ฟอสซิล พฤติกรรมจับคู่ผสมพันธุ์

ฟอสซิลปลาดึกดำบรรพ์ชี้ พฤติกรรมจับคู่ผสมพันธุ์มีมานานกว่าที่คาด

หางานสัตวเเพทย์สัตว์เลี้ยงเเมวสุนัข

ศึกษา ฟอสซิลปลาโบราณในออสซี ที่พบมานานกว่าสิบปีได้หลักฐาใหม่ ที่แท้กระดูกในท้องเป็นของลูกปลาที่ยังไม่เกิด ไม่ใช่กระดูกของเหยื่ออย่างที่คาด นักวิจัยระบุมีการปฏิสนธิภายในแม่ปลา ชี้รูปแบบการผสมพันธุ์แบบจับคู่แล้วตัวผู้ปล่อยสเปิร์มเข้าไปในตัวเมียมีมา แต่ยุคแรกๆ และนานกว่าที่คิด

ทีมนักวิทยาศาสตร์อังกฤษและออสเตรเลีย ร่วมกันศึกษาฟอสซิลของปลาพลาโคเดิร์ม (placoderm) สปีชีส์ อินคิสออสคูตัม ริตชิอี (Incisoscutum ritchiei) อายุราว 380 ล้านปี ที่พบในบริเวณแหล่งขุดค้นโกโก (Gogo) ทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย ผลปรากฏว่า กระดูกในท้องฟอสซิลปลาเป็นของปลาตัวอ่อน

นับเป็นข้อมูลใหม่ที่ชี้ว่า ปลาดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ มีการจับคู่ผสมพันธุ์แบบเกิดการปฏิสนธิภายในปลาตัวเมีย ซึ่งแต่เดิมคิดว่าวิธีผสมพันธุ์แบบนี้วิวัฒนาการขึ้นหลังจากนั้นอีกหลายสิบ ล้านปี โดยได้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารเนเจอร์ (Nature) เมื่อเร็วๆนี้ ตามที่ระบุในสำนักข่าวเอพี

หางานสัตวเเพทย์สัตว์เลี้ยงเเมวสุนัข
ภาพ จำลองการจับคู่ผสมพันธุ์ของปลาพลาโคเดิร์มที่มีการปฏิสนธิระหว่างไข่กับ สเปิร์มภายในท้องของตัวเมีย แต่เดิมคิดว่าปลาชนิดนี้มีการปฏิสนธิภายนอนตัวเมีย (เอพี)
ทั้งนี้ ปลาพลาโคเดิร์มเป็นปลาในยุคดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่ในยุคดีโวเนียน (Devonian : ราว 417-350 ล้านปีก่อน) ซึ่งเป็นยุคของปลา (The Age of Fish) และฟอสซิลของปลาดังกล่าวนั้นพบตั้งแต่ช่วงปี 2529 นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นฟอสซิลของบรรพบุรุษสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เก่า แก่ที่สุดในขณะนี้

บีบีซีนิวส์รายงานว่าแรก เริ่มเดิมที นักวิจัยคะเนว่าปลาพลาโคเดิร์มตัวนี้ตายลงหลังจากที่กินอาหารมื้อสุดท้าย และเชื่อว่ากระดูกที่พบอยู่ในท้องก็คือเหยื่อตัวสุดท้ายที่กินเข้าไป แต่หลังจากที่ศึกษาใหม่อย่างละเอียด กระดูกที่คิดว่าเป็นของเหยื่อพลาโคเดิร์มนั้นแท้ที่จริงก็คือลูกปลา พลาโคเดิร์มที่ยังอยู่ในท้องแม่นั่นเอง

นอกจากนั้น นักวิจัยยังได้ศึกษาและวิเคราะห์กระดูกเชิงกรานของปลาพลาโคเดิร์มใหม่อีก ครั้ง จากตัวอย่างฟอสซิลของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา (Natural History Museum) ในกรุงลอนดอน อังกฤษ และพิพิธภัณฑ์วิคตอเรีย (Museum Victoria) ในเมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ทำให้ได้ข้อมูลใหม่ เกี่ยวกับการปฏิสนธิของปลาพลาโคเดิร์ม โดยพบว่ากระดูก เชิงการของเพศผู้มีครีบที่ไม่พบในเพศเมีย ซึ่งเรียกครีบนั้นว่า คลาสเปอร์ (clasper) และสันนิษฐานว่าพลาโคเดิร์มตัวผู้มีไว้สำหรับยึดเกาะตัวเมียในขณะจับคู่ผสม พันธุ์เพื่อปล่อยสเปิร์มเข้าในผสมกับไข่ที่อยู่ในตัวเมีย คล้ายกับการผสมพันธุ์ของฉลามในปัจจุบันซึ่งมีอวัยวะส่วนที่คล้ายกับที่พบใน พลาโคเดิร์มเช่นกัน

"พลาโคเดิร์มเพศผู้ มีกระดูกชิ้นพิเศษขนาดใหญ่เชื่อมต่อกับกระดูกเชิงกราน ซึ่งเรามองข้ามไปในตอนแรกและไม่ได้แยกแยะมันออกจากกัน และเมื่อเราทำความเข้าใจกับกระดูกเชิงกรานของปลาชนิดนี้ใหม่ ทำให้เรารู้ว่าพวกมันมีการจับคู่ผสมพันธุ์กัน" จอห์น ลอง (John Long) นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์วิคตอเรีย หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว

ด้านเซรินา โจแฮนสัน (Zerina Johanson) นักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในลอนดอน นักวิจัยอีกคนที่ร่วมศึกษากล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์เคยคาดคะเนกันว่าปลาโบราณชนิดนี้ มีรูปแบบการสืบพันธุ์เป็นแบบดั้งเดิมที่ปลาตัวผู้และตัวเมียปล่อยสเปิร์มและ ไข่ออกมาผสมกันและเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนในน้ำ หรือที่เรียกว่าปฏิสนธิภายนอก

ทว่าจากที่ได้ศึกษากันใหม่พบว่า ปลา พลาโคเดิร์มมีการปฏิสนธิกันแบบขั้นสูงขึ้น ที่ปลาตัวผู้และตัวเมียจับคู่ผสมพันธุ์กัน โดยปล่อยสเปิร์มเข้าไปและเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนขึ้นภายในปลาตัวเมีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการผสมพันธุ์แบบนี้เกิดขึ้นในปลายุคแรกๆ มานานกว่าที่เราเคยสันนิษฐานกัน และการปฏิสนธิภายนอกอาจไม่ใช่รูปแบบการผสมพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดอย่างที่ เคยคาดกันไว้ และเป็นไปได้ว่ามีวิวัฒนาการแบบนี้เกิดขึ้นในปลาชนิดอื่นด้วยเช่นกัน

"การค้นพบครั้งนี้ มีความสำคัญอย่างเหลือเชื่อทีเดียว เพราะหลักฐานทางชีววิทยาการสืบพันธุ์นั้นหาจากฟอสซิลได้ยากยิ่ง" โจแฮนสัน ระบุในบีบีซีนิวส์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสัตว์มี กระดูกสันหลัง ที่มีขากรรไกรจากฟอสซิลดังกล่าวกันต่อไป รวมทั้งศึกษาด้วยว่าปลาพลาโคเดิร์มนี้มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับพวกฉลามและ กระเบน หรือปลากระดูกแข็ง เช่น ทูน่า มากกว่ากัน.

รีดเลือดไดโนเสาร์ ซากจมอยู่ในดินตายมาแล้วตั้ง 80 ล้านปี

นักโบราณคดีได้สกัดเอาส่วนผสมของโปรตีนกับโครงขนาดเล็กมากของสิ่งที่มีทรวด ทรง ที่คล้ายคลึงกับเซลล์จากกระดูกของฮาโดรเสาร์

อันเป็นไดโนเสาร์ชนิดกินพืช...นิตยสารวิทยาศาสตร์ เดอะนิว ไซเอนทิสต์ อันมีชื่อเสียงของโลก เปิดเผยว่า นักโบราณคดีสามารถรีดเลือดจากกระดูกไดโนเสาร์ได้เป็นครั้งแรก

ทำให้เกิดความหวังว่าจะทำให้เกิดความกระจ่าง ในเรื่องที่ว่าสามารถสกัดเอาเนื้อเยื่อจากซากโบราณของมันได้หรือไม่

dinonychus


คณะ นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยรัฐแคโรไลนาเหนือของสหรัฐฯ ได้สกัดเอาส่วนผสมของโปรตีนกับโครงขนาดเล็กมากของสิ่งที่มีทรวดทรงที่คล้าย คลึงกับเซลล์จากกระดูก

ของฮาโดรเสาร์ อันเป็นไดโนเสาร์ชนิดกินพืช ซึ่งถูกฝังอยู่ในดินมาตั้ง 80 ล้านปีแล้ว


dinonychus

โปรตีนคอลลาเจนอันเป็น โปรตีนเส้นใยส่วนประกอบสำคัญของกระดูก สามารถจะอยู่คงทนได้ยิ่งกว่าดีเอ็นเอ แต่ก็ยังไม่เชื่อกันว่ามันจะอยู่ทนมาตั้ง 65 ล้านปี ซึ่งเป็นเวลาที่เหล่าไดโนเสาร์ สูญสิ้นไปจากโลกได้

ทีมนักวิทยา ศาสตร์ยังแจ้งว่า ไม่แต่เพียงจะค้นพบคอลลาเจนเท่านั้น แต่ยังพบเฮโมโกลบิน อีลาสตินและบามินิน รวมทั้งสิ่งที่มีโครงสร้างคล้ายเซลล์ของโลหิตและกระดูกของมันด้วย

อนาคอนดาชิดซ้าย!

อนาคอนดาชิดซ้าย!

หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
ทีมนักวิทยาศาสตร์สุดตื่นเต้นปน เสียวสยอง เมื่อพบซากฟอสซิลของ "งูยักษ์" ในโคลอมเบีย คาดเป็นงูสายพันธุ์ใหญ่ที่สุดและเลื้อยอยู่บนโลกเมื่อ 60 ล้านปีก่อน มีขนาดใหญ่ยิ่งกว่ารถบัส และสามารถเคี้ยวจระเข้เป็นของว่างได้เลย และน่าสนใจมากว่าโลกดึกดำบรรพ์ร้อนกว่าตอนนี้เยอะ

ข่าว การค้นพบฟอสซิลงูยักษ์สายพันธุ์โบราณบริเวณเหมืองถ่านหินทาง ตะวันออกเฉียงของประเทศโคลอมเบีย ได้รับความสนใจและตีพิมพ์ในสื่อต่างชาติจำนวนมากทั้งเอพี รอยเตอร์ส และเอเอฟพี ที่ระบุว่าน่าจะเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ และผลงานวิจัยซากงูดึกดำบรรพ์นี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์ (Nature)

หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
ฟอส ซิ ลแกนกระดูกสันหลังของงูยุคดึกดำบรรพ์ที่เชื่อว่าเป็นงูชนิดที่ใหญ๋ที่สุดใน โลกเท่าที่เคยพบ โดยเปรียบเทียบขนาดกับกระดูกของงูอนาคอนดา (สีขาวตรงกลาง) ที่เคยยาวกว่า 5 เมตร ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ (เอเอฟพี/เนเจอร์/Jason Bourque)
หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
แกนกระดูกสันหลังของงูอนาคอนดา (ซ้าย) และฟอสซิลแกนกระดูกสันหลังของงูไททันโอโบอา (เนเจอร์)
จากการค้นพบฟอสซิลส่วนกระดูกสันหลังของงูยักษ์ดังกล่าว นัก วิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่า เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่เมื่อราว 60 ล้านปีที่แล้ว เจ้างูยักษ์ตัวนี้น่าจะมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 1 ตัน และยาวกว่า 13 เมตร โดยที่งูสายพันธุ์นี้น่าจะมีน้ำหนักมากสุดได้ถึง 2 ตัน และยาวได้เต็มที่ 15 เมตร

นักบรรพชีวินวิทยาได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับงูยักษ์ชนิดนี้ว่า "ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส" (Titanoboa cerrejonensis) (อ่านว่า "ty-TAN-o-BO-ah sare-ah-HONE-en-siss") ซึ่งเป็นภาษาลาติน แปลได้ว่า "งูยักษ์จากแซอาโฮน" (titanic boa from Cerrejon) ซึ่งเป็นเมืองที่ค้นพบฟอสซิลดังกล่าวตามที่ระบุในเอพี

เจสัน เฮด (Jason Head) นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต (University of Toronto) ในเมืองมิสซิสซอกา (Missisauga) ประเทศแคนาดา หัวหน้าทีมนักวิจัย เผย ว่างูยักษ์ดึกดำบรรพ์นี้มีความใกล้ชิดกับงูเหลือมในยุคปัจจุบัน แต่น่าจะมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับงูอนาคอนดามากกว่า นั่นคือใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ และสามารถเลื้อยคลานบนพื้นดินได้อย่างคล่องแคล่ว เหมือนเวลาว่ายอยู่ในน้ำ และน่าจะกินจุมากพอสมควร ซึ่งอาหารของมันอาจรวมถึงปลาขนาดใหญ่และจระเข้ด้วยก็ได้

อย่างไรก็ตาม โจนาธาน บลอช (Jonathan Bloch) นักวิจัยในทีมเดียวกัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์มีกระดูกสันหลังยุคโบราณ ประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฟลอริดา (Florida Museum of Natural History) มหาวิทยาลัยฟลอริดา (University of Florida) ให้ข้อมูลกับเอพีว่า ใน บรรดางูสปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนั้น นับว่างูหลามหรือไพธอน (python) เป็นงูที่ยาวที่สุดในโลก วัดได้ประมาณ 10 เมตร ส่วนงูอนาคอนดาเขียว (Green anaconda) ที่ครองแชมป์งูที่หนักที่สุดในโลกก็หนักเพียง 250 กิโลกรัมเท่านั้น ดังรายงานในบีบีซีนิวส์

บลอชให้ข้อมูลอีกว่า ทีมวิจัยค้นพบฟอสซิลงูยักษ์นี้จากเหมืองถ่านหินในเมืองแซอาโฮนตั้งแต่เมื่อ ต้นปี 2550 โดยพบแกนกระดูกสันหลังทั้งหมดประมาณ 180 ชิ้น คาดว่าน่าจะเป็นของงูยักษ์ร่วม 12 ตัว ซึ่งขณะนี้ทีมวิจัยก็ยังหวังว่าจะขุดค้นพบฟอสซิลส่วนกระโหลกได้ในเร็ววัน

"การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไททันโอโบอา สร้างความท้าทายให้กับพวกเราในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในอดีต ของบริเวณนั้นเป็นอย่างยิ่ง และอาจเป็นสิ่งแวดล้อมที่จำกัดสำหรับการวิวัฒนาการของงูยักษ์ชนิดนี้ และฟอสซิลของมันยังให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับแผ่นดินบริเวณนั้นในประวัติ ศาสตร์" เฮด กล่าวในเอเอฟพี

จาก การวิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์และคำนวณด้วยเครื่องมือต่างๆ นักวิจัยประมาณการณ์ได้ว่าบริเวณเหมืองถ่านหินที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของไท ทันโอโบอาเมื่อราว 60 ล้านปีก่อน ซึ่งอยู่ในยุคที่เรียกว่า พาลีโอซีน (Palaeocene) มี สภาพเป็นป่าดิบเขตร้อน มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 30-34 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของป่าฝนเขตร้อนใดๆในยุคปัจจุบันราว 3-4 องศาเซลเซียส และสอดคล้องกับสภาพอากาศในยุคพาลีโอซีนที่คาดว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน ชั้นบรรยากาศปริมาณมาก

ข้อมูลดังกล่าวบอกเป็นนัยว่า หากในอนาคตภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิบริเวณพื้นผิวโลกสูงขึ้นประมาณ 1.8-4 องศาเซลเซียส ในอีกราว 100 ปีข้างหน้า ตามที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่าสิ่งมีชีวิตจำนวนมากอาจได้รับผลกระทบหรือถูกทำลายไป แต่ป่าเขตร้อนก็อาจจะยังคงสามารถดำรงอยู่ได้เช่นเดียวกับเมื่อ 60 ล้านปีก่อน

กบ สปีชีส์ใหม่ ที่ชายแดนโคลอมเบีย

หลากชนิด "กบ" สปีชีส์ใหม่ ที่ชายแดนโคลอมเบีย


หางานสัตวเเพทย์เเมวสุนัขชูการ์ฤ

นักอนุรักษ์ธรรมชาติ สำรวจป่าอเมริกาใต้ ชายแดนโคลอมเบีย-ปานามา พบกบและซาลาแมนเดอร์สปีชีส์ใหม่หลายชนิด พร้อมสมเสร็จที่เคยคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว นักวิทย์เผยสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เป็นตัวชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ห่วงสัตว์ถูกคุกคามจากมนุษย์ที่บุกรุกทำลายป่าเพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว

ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมูลนิธิอีโคทรอปิโกฟาวเดชัน (Ecotropico Foundation) ในโคลอมเบีย และนักสัตววิทยาจากองค์กรอนุรักษ์นานาชาติ หรือซีไอ (Conservation International: CI) ออกสำรวจพื้นที่ในบริเวณภูเข้าทาคาร์คูนา (Tacarcuna) ในแถบดาเรียน แก็ป (Darien Gap) ทางตะวันตกเฉียงเหนือในโคลอมเบีย ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนประเทศปานามา พบสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่เพียบ โดยเฉพาะกบและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำต่างๆ มากมาย

"ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบริเวณแถบนี้คือ "เรือโนอาร์" (Noah's Ark) ของแท้แน่นอน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำสปีชีส์ใหม่ที่พบมากมายนี้ เป็นสัญญาณแห่งความหวัง ซึ่งพวกสัตว์ในกลุ่มนี้ ที่มีอยู่ทั่วโลกกำลังถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างหนัก" โฮเซ วินเซนเต โรดริเกซ-มาเอชา (Jose Vicente Rodriguez-Mahecha) ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ องค์กรอนุรักษ์นานาชาติ กล่าวผ่านสำนักข่าวเอเอฟพี

การสำรวจครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำสปีชีส์ใหม่ถึง 10 ชนิด เป็นกบ 9 ชนิด เช่น กบแก้ว (glass frog) ที่มีผิวหนังโปร่งแสง และมองเห็นอวัยวะภายในได้, กบมีพิษ (poison frog), กบฮาร์เลควิน (harlequin frog) ที่มีสีสันสวยสดงดงาม และซาลาแมนเดอร์สปีชีส์ใหม่อีก 1 ชนิด ซึ่งนักสำรวจกล่าวว่าโคลอมเบียถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายของสัตว์ ครึ่งบกครึ่งน้ำมากที่สุดในโลก โดยรายชื่อสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่ได้รับการบันทึกไว้แล้วในปัจจุบัน มีประมาณ 754 ชนิด

ทีมนักสำรวจระบุว่า นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นตรงกันว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นตัวชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมาก ซึ่งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหลายสปีชีส์ ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ผิวหนังของพวกมันที่มีรูพรุน และยอมให้สารต่างๆ แทรกซึมเข้าไปได้ดี จึงทำให้เป็นเครื่องเตือนภัยขั้นต้นว่า สิ่งแวดล้อมเริ่มเสื่อมโทรมจากฝนกรดหรือปนเปื้อนสารพิษและโลหะ นอกจากนี้รอยเตอร์สระบุด้วยว่า สัตว์เหล่านี้ยังมีส่วนช่วยในการควบคุมโรคระบาดหลายชนิด เช่น มาลาเรีย และไข้เลือดออก เนื่องจากพวกมันกินแมลงพาหะของโรคเหล่านั้นเป็นอาหาร

นอกจากนั้นในบริเวณดังกล่าวแล้ว นัก วิทยาศาสตร์ยังสำรวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกหลายชนิด เช่น สมเสร็จเบร์ด (Baird's tapir) ซึ่งเคยคิดว่าสูญพันธุ์จากโคลอมเบียไปแล้ว และยังมีเพคคารีปากขาว (white-lipped peccary) ซึ่งเป็นสัตว์คล้ายหมูป่า และลิงอีก 4 สปีชีส์

ทั้งนี้ ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวที่นักวิทยาศาสตร์เดินทางเข้าไปสำรวจ และพบสัตว์สปีชีส์ใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับการบันทึกไว้นั้น เป็นพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ ซึ่งเป็นป่าในรอยต่อระหว่างอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ และแม้ว่าในปัจจุบันพื้นที่ป่าดังกล่าว ยังไม่ถูกรุกราน แต่พื้นที่ราบในบริเวณนั้นกำลังถูกคุกจากการตัดไม้ ล่าสัตว์ ทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ทำเหมืองแร่ และที่อยู่อาศัย.

พบสปีชีส์ใหม่ใต้ทะเลออสซีเพียบ แต่น่าเป็นห่วงโลกร้อนทำสูญพันธุ์

หางานสัตวเเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
ฟองน้ำชนิดหนึ่ง (waffle-cone sponge) ขนาดกว้างราวครึ่งเมตร สูงเกือบ 2 เมตร อยู่ใต้ทะเลลึกกว่า 2,000 เมตร แถบทัสมาเนีย (เอเอฟพี)
หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
เพรียง หัวหอมสูงประมาณครึ่งเมตร อยู่ใต้ทะเลลึกกว่า 4,000 เมตร คอยดักจับกินสัตว์ทะเลขนาดเล็กที่ผ่านเข้ามาติดกับบริเวณกรวย คล้ายกับต้นกาบหอยแครงหรือหม้อข้าวหม้อแกงลิง (เอเอฟพี)
หางานสัตว์เเพทย์เเมวสุนัขชูการ์
ซาก ฟอสซิลแนวปะการังอายุไม่ต่ำกว่า 10,000 ปี ที่ความลึกกว่า 1,500 เมตร ส่วนตัวสีเหลืองๆที่เห็น คือดาวทะเลชนิดหนึ่ง (brisingoid) (CSIRO)
ฟองน้ำชนิดหนึ่ง (waffle-cone sponge) ขนาดกว้างราวครึ่งเมตร สูงเกือบ 2 เมตร อยู่ใต้ทะเลลึกกว่า 2,000 เมตร แถบทัสมาเนีย (เอเอฟพี)

เพรียง หัวหอมสูงประมาณครึ่งเมตร อยู่ใต้ทะเลลึกกว่า 4,000 เมตร คอยดักจับกินสัตว์ทะเลขนาดเล็กที่ผ่านเข้ามาติดกับบริเวณกรวย คล้ายกับต้นกาบหอยแครงหรือหม้อข้าวหม้อแกงลิง (เอเอฟพี)

ซาก ฟอสซิลแนวปะการังอายุไม่ต่ำกว่า 10,000 ปี ที่ความลึกกว่า 1,500 เมตร ส่วนตัวสีเหลืองๆที่เห็น คือดาวทะเลชนิดหนึ่ง (brisingoid) (CSIRO)


นักวิทยาศาสตร์ยังคงสำรวจพบความมหัศจรรย์ ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกแถบเกาะทัสมาเนีย ของออสเตรเลีย ที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิต รูปร่างหน้าตาสวยงามแปลกตาเพียบ สปีชีส์ใหม่ๆ ก็มีเยอะแยะ พร้อมฟอสซิลปะการังหมื่นปี ที่ชี้ว่าโลกร้อนกำลังคุกคามสัตว์โลกใต้ทะเล

ทีมนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียร่วมกับสหรัฐฯ สำรวจใต้ทะเลลึกบริเวณทิศใต้จากชายฝั่งของเกาะทัสมาเนีย ออสเตรเลีย ซึ่งลงลึกกว่าครั้งใดๆ ที่เคยสำรวจมาแล้วก่อนหน้า ทั้งพบสิ่งมีชีวิตหน้าตาสวยงามแปลกประหลาดมากมาย หลายชนิดจัดเป็นสปีชีส์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีอยู่ในสารบบการเรียกชื่อสิ่งมี ชีวิต ตามหลักวิทยาศาสตร์ และได้ข้อมูลบ่งชี้ว่าสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลเหล่านี้ กำลังถูกคุกคามจากภาวะโลกร้อน

ทั้งนี้ ทีมวิจัยส่งหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำนามว่าเจสัน (Jason) ซึ่งมีขนาดประมาณรถเก๋ง ดำดิ่งลงไปสำรวจใต้ทะเลบริเวณที่เป็นรอยแยกของเปลือกโลกใต้สมุทรที่เรียกว่า ทัสมัน แฟรคเชอร์ โซน (Tasman Fracture Zone) อยู่ลึกจากผิวน้ำประมาณ 4,000 เมตร

รอน เธรชเชอร์ (Ron Thresher) หัวหน้าทีมวิจัยจากองค์การการวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งสหพันธ์รัฐ หรือ คริสโร (Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation: CSIRO) เปิดเผยว่า สัตว์ใต้ทะเลที่ลึกที่สุดที่พบนั้น มีทั้งเพรียง หัวหอม (sea squirt) หน้าตาพิลึกพิลั่น, แมงมุมทะเล (sea spider) และฟองน้ำขนาดใหญ่ยักษ์ รวมทั้งปะการังอ่อนสปีชีส์ใหม่ๆ และชุมชนสัตว์ทะเลที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนอีกหลายชนิด ที่อิงอาศัยอยู่ร่วมกับเพรียงคอห่าน (gooseneck barnacle) และดอกไม้ทะเล

อดัม ซับแฮส (Adam Subhas) หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า พวกเขาสังเกตการณ์การสำรวจอยู่บนเรือผ่านจอมอนิเตอร์ และเห็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเพรียงหัวหอมเกาะอยู่ตามแนวร่องนั้น ส่วนสภาพทางธรณีวิทยาบริเวณนั้นก็ดูสวยงามน่าหลงใหล ดินตะกอนละเอียดอ่อนและทับถมกันอย่างบางเบาราวกับปุยหิมะ

นอก จากนี้ยังพบฟอสซิลแนวปะการังโบราณที่ความลึก 1,400 เมตร มีอายุมากกว่า 10,000 ปี ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในสมัยนั้น และนักวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลวิเคราะห์หรือสถานการณ์ภาวะโลกร้อนใน ปัจจุบันได้

"แม้ปัจจุบันเรายังพบแนวปะการังน้ำลึกอยู่บ้าง แต่ก็มีหลักฐานแน่นหนา บอกว่าปะการังเหล่านั้นกำลังจะตาย เพราะพบว่าปะการังที่อยู่ลึกกว่า 1,300 เมตร จำนวนมากเพิ่งตายไปเมื่อไม่นานมานี้เอง อย่างไรก็ตาม นักวิจัยจะต้องศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดมากกว่านี้ แต่จากการศึกษาแบบจำลองก็บ่งชี้ได้ว่าเกิดภาวะความเป็นกรดในมหาสมุทร

ส่วนในเดลีเทเลกราฟ อธิบายเพิ่มเติมว่าภาวะโลกร้อนซึ่งเกิดจากการที่มีก๊าซเรือนกระจกอยู่ในชั้น บรรยากาศมากเกินไป ไม่เพียงแต่ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดภาวะน้ำทะเลเป็นกรดด้วย เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีมากเกินไปนั้น จะถูกดูดซับไว้ในน้ำทะเลมากถึง 25%

"ถ้าเราวิเคราะห์ได้ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้ปะการังเสียหายหรือตายลงจริงแล้วล่ะก็ ผลกระทบที่เราเห็นที่ความลึก 1,300 เมตร ในวันนี้ จะขยายไปสู่แนวปะการังส่วนอื่นๆ ที่อยู่ตื้นกว่านี้ในอีก 50 ปีข้างหน้า รวมทั้งสังคมสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ใกล้แนวปะการังก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย กันทั้งหมด" เธรชเชอร์ กล่าว

ทั้งนี้ จากรายงานของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เมื่อปี 2551 ระบุว่า เกรต แบริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) หรือ แนวประการังใหญ่ ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแนวประการังขนาดใหญ่ และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอาจถูกสภาพความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศทำลายจนหมดสิ้นได้ ภายในไม่กี่สิบปีนี้.

น่ารักน่าชัง! ลีเมอร์น้อยเกิดใหม่ในสวนสัตว์เมืองน้ำหอม

ลีเมอร์ลีเมอร์น้อยสัตแพทย์เกิดใหม่

เจ้าลีเมอร์น้อยอิงแอบแนบชิดกับตุ๊กตาลิง ไม่รู้จะคิดว่าเป็นแม่ลีเมอร์หรือเปล่าเพราะหน้าตาคล้ายกัน (เอเอฟพี)

สวนสัตว์ในฝรั่งเศสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับ สมาชิกใหม่ ได้ลูกลีเมอร์เกิดใหม่น่ารักน่าชัง ตั้งชื่อให้ว่า "ทาฮินา" สื่อความหมาย "ต้องการการปกป้อง"

สวนสัตว์เบอซองซง (Besancon Zoo) ประเทศฝรั่งเศส เผยแพร่ภาพน่ารักน่าชังของลูกลีเมอร์มาดากัสการ์ (Madagascar lemur) ที่เพิ่งเกิดใหม่ยังไม่ถึงเดือน เมื่อวันที่ 21 ม.ค.52 ที่ผ่านมา ซึ่งสำนักข่าวเอเอฟพีระบุว่า ลีเมอร์ชนิดนี้เหลืออยู่ไม่มากแล้ว

เจ้าลีเมอร์น้อยตัวนี้ลืมตาดูโลกเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.51 ภายในสวนสัตว์เบอซองซง ซึ่งลีเมอร์เป็นไพรเมตจำพวกหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในมาดากัสการ์ และลีเมอร์ตัวที่เพิ่งเกิดใหม่นี้เป็นลีเมอร์ชนิด โพรพิเธคัส โคโรนาตัส (Propithecus coronatus) เป็นลีเมอร์สปีชีส์หนึ่งที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง โดยปัจจุบันมีลีเมอร์สปีชีส์นี้อยู่ในสวนสัตว์ทั่วโลกเพียง 17 ตัวเท่านั้น

ดังนั้น เจ้าหน้าที่สวนสัตว์จึงได้ตั้งชื่อให้ลีเมอร์น้อยตัวนี้ว่า "ทาฮินา" (Tahina) ซึ่งมีความหมายว่า "ต้องการการปกป้อง" (Needs to be protected) ในภาษามาลกาช (ภาษาราชการของมาดากัสการ์) เพื่อกระตุ้นเตือนให้พวกเราตระหนักและช่วยกันปกป้องสัตว์โลกชนิดนี้ให้รอด พ้นจากการสูญพันธุ์
ลีเมอร์ลีเมอร์น้อยสัตแพทย์เกิดใหม่ลีเมอร์ลีเมอร์น้อยสัตแพทย์เกิดใหม่
ดูหน้าชัดๆ ไม่ใช่ลิงที่ไหน แต่เป็นลีเมอร์มาดากัสการ์นั่นเอง (เอเอฟพี)
ลีเมอร์ลีเมอร์น้อยสัตแพทย์เกิดใหม่ลีเมอร์ลีเมอร์น้อยสัตแพทย์เกิดใหม่
เจ้าหน้าที่อุ้มเจ้า "ทาฮินา" ลีเมอร์แบเบาะอย่างทะนุถนอม (เอเอฟพี)
ลีเมอร์ลีเมอร์น้อยสัตแพทย์เกิดใหม่ลีเมอร์ลีเมอร์น้อยสัตแพทย์เกิดใหม่
น่ารักน่าชัง! ลีเมอร์น้อยตัวนี้เป็นหนึ่งในสปีชีส์ Propithecus coronatus ที่มีอยู่เพียง 17 ตัว ในสวนสัตว์ทั่วโลก (เอเอฟพี)
ลีเมอร์ลีเมอร์น้อยสัตแพทย์เกิดใหม่ลีเมอร์ลีเมอร์น้อยสัตแพทย์เกิดใหม่
"ทาฮินา" ดูดนมเอร็ดอร่อยจากหลอดที่สัตวแพทย์ป้อนให้ (เอเอฟพี)

วิวัฒนาการมีจริงหรือ?

วิวัฒนาการมีจริงหรือ?

"คน" มาจาก "ลิง" ใช่ไหม? หากวิวัฒนาการมีจริงแล้วทำไม ในช่วงชีวิตเรา คนก็ยังอยู่เป็นคน ลิงก็ยังเป็นลิง เช่นที่เห็นอยู่ทุกวันนี้? และอีกหลากหลายคำถามของหลายๆ คนที่เกิดจากความสงสัยในทฤษฎีวิวัฒนาการของ "ชาร์ลส์ ดาร์วิน" และยังไม่มีใครให้ความกระจ่างได้

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา อาจารย์และนักวิจัยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และรอยต่อวิวัฒนาการมนุษย์

ศ.ดร.สมศักดิ์ อธิบายว่า การวิวัฒนาการต้องอาศัยเวลานานนับล้านปี ไม่ใช่ว่าเมื่อสิ่งแวดล้อมแปลงไป สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะเปลี่ยนแปลงได้ทันที ไม่ใช่ว่าเมื่ออากาศหนาวเย็นขึ้นมาอย่างฉับพลัน คนจะมีขนปกคลุมร่างกายได้ในทันทีทันใด ฉะนั้นเราจึงไม่เห็นว่าสิ่งมีชีวิต เช่น คน หรือ ลิง มีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลจากวิวัฒนาการได้อย่างชัดเจนในช่วงระยะเวลาไม่กี่ ปี แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อย่างจุลินทรีย์ อาจใช้เกิดขึ้นได้

"วิวัฒนาการพิสูจน์ได้จากดีเอ็นเอ (DNA) สามารถศึกษาย้อนกลับไปได้ว่าผ่านการเปลี่ยนแปลงมาแล้วอย่างไรบ้างจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ธรรมชาติจะค่อยๆ คัดเลือกลักษณะที่เหมาะสมให้คงอยู่ต่อไปได้ ค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งผ่านไปยังลูกหลาน และวิวัฒนาการจะสิ้นสุดลงเมื่อสิ่งมีชีวิตนั้นสูญพันธุ์" ดร.สมศักดิ์ ชี้แจง

primate

ทำไมหลักฐานวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ย้อนกลับไปไกลได้ราว 5 ล้านปี จึงขาดหายไปในบางช่วง หรือที่เรียกกันว่า "มิสซิง ลิงก์" (Missing link) หรือที่หลายคนสงสัยกันว่าช่วงรอยต่อของวิวัฒนาการนั้นหายไปไหน เพราะสิ่งมีชีวิตในตระกูลคนบางสปีชีส์พิสูจน์ได้จริงว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจริง แต่บางสปีชีส์หายไปอย่างไร้ร่องรอย

ศ.ดร.สมศักดิ์ ให้คำตอบว่าจากการที่นักวิทยาศาสตร์ขุดพบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตในตระกูลคนจาก แหล่งต่างๆ ทั่วโลก และคำนวณอายุย้อนกลับได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ แล้วนำมาเรียงลำดับต่อกันตามอายุความเก่าแก่ จึงทำให้ทราบข้อมูลเส้นทางการวิวัฒนาการของมนุษย์

แต่ อาจมีบางช่วงเวลาที่ไม่ต่อเนื่องกัน หรือขาดหลักฐานเชื่อมโยง ทั้งนี้เพราะยังไม่มีการค้นพบฟอสซิลที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลานั้น และการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่ผ่านมาหลายล้านปีอาจทำให้ฟอสซิลบางส่วน นั้นถูกทำลายไป

นอกจากนี้ ศ.ดร.สมศักดิ์ ยังเพิ่มความกระจ่างในเรื่องวิวัฒนาการของคนกับลิงด้วยว่า คนกับลิงเป็นสิ่งมีชีวิตในลำดับไพรเมต (Primate) เช่นเดียวกัน ซึ่งจากหลักฐานฟอสซิลที่พบ บ่งชี้ว่ามีการแตกสายวิวัฒนาการแยกออกจากบรรพบุรุษเดียวกันในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว โดยแต่ละประเภทก็ถูกธรรมชาติคัดเลือกให้มีลักษณะและความสามารถแตกต่างกัน กลุ่มที่อยู่บนต้นไม้ได้ก็วิวัฒนาการไปแบบหนึ่ง กลุ่มที่อาศัยบนพื้นราบก็วิวัฒนาการไปอีกแบบหนึ่ง ไม่ใช่ว่าคนวิวัฒนาการมาจากลิง หรือลิงแตกสายวิวัฒนาการไปจากคน แต่เป็นการวิวัฒนาการที่แยกออกจากกันแล้วเป็นคู่ขนานกันเรื่อยมา

"วิวัฒนาการจะเกิดขึ้นได้ต้องมียีนที่ดี มีช่วงเวลาที่เหมาะสม และโชคดีด้วย" ศ.ดร.สมศักดิ์ เน้นย้ำและบอกว่า บางคำถามก็ยังคงรอคำตอบอยู่ และเราก็ต้องศึกษาค้นคว้าหาคำตอบกันต่อไป.

กิ้งก่าจระเข้..แปลกจิ๋ว คล้ายสัตว์ดึกดำบรรพ์

red eye skink1

แม้ เศรษฐกิจจะยังคงผันผวนเพียงใด แต่ก็ไม่อาจหยุดรั้งความหลงใหล ชื่นชอบการเลี้ยง สัตว์แปลก ของกลุ่มวัยรุ่นในบ้านเรา จึงทำให้ทุกวันนี้ตลาดสัตว์เลี้ยงแห่งยุคปัจจุบัน รวมถึงเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต ไม่เคยที่จะหยุดนิ่ง…

…แต่ละวันยังคงมีการนำ เสนอ สัตว์รูปร่างหน้าตาประหลาดๆ แก่ลูกค้า กิ้งก่าจระเข้ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น


นายปิยสิชฌ์ พัฒนะพราหมณ์ เล่าให้ “หลายชีวิต” ฟัง ว่า เป็นคนที่ชื่นชอบสัตว์แปลก ในบ้านจะเลี้ยงไว้หลายชนิด และอยากเลี้ยงจระเข้บ้าง แต่สถานที่กับหลายๆปัจจัยรอบด้านไม่เอื้อ จึงชะลอความอยากลง พอมารู้จักเจ้าตัว “กิ้งก่าจระเข้” จึงเริ่มศึกษา จนรู้ข้อมูลว่าสามารถนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงได้…จากนั้นก็หามาไว้เป็นสมาชิกในครอบครัว…
…กิ้งก่าจระเข้ (red eye skink) มีถิ่นกำเนิดของมันอยู่ ที่ ปาปัวนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย พวกนี้เป็นสัตว์ที่ ออกหากินพวกจิ้งหรีดแมลงเล็กๆ หนอนตามใต้กองใบไม้หลังตะวันตกดิน ส่วน กลางวันจะหลบตามซอกหลืบ ใบไม้ชื้นๆ ริมธารน้ำตก หากรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ก็อาจใช้ตู้ปลาขนาดใหญ่แล้วจัดระบบนิเวศน์ภายในให้เหมือนธรรมชาติได้มากที่ สุด มีกองใบไม้ ถาดน้ำแช่บ้างเพราะพวกนี้จะชอบที่ชื้นๆ

เจ้าตัวเล็กจิ๋วมีขนาดลำตัววัดรอบได้ประมาณ 3 นิ้ว จากโคน หางถึงปลายยาว 2 นิ้ว สีสันโทนน้ำตาล โครงสร้าง หัวลักษณะ 3 เหลี่ยมคล้ายกะโหลก ตาดำ ตัวผู้จะมีสีส้ม หรือแดงรอบขอบตา เพื่อใช้หลอกศัตรู ตั้งแต่ช่วง คอด้านหลังมีเกล็ดบนหลังเป็นแนวยาว 4 แถว ไปจนสุดปลายหางซึ่งดู คล้ายจระเข้ ผิวหนังตามตัวลักษณะเป็นหนามแต่ไม่แข็ง เรียงเป็นระเบียบ และ บริเวณโคนถึงปลายหางลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายจระเข้ ขาทั้งสี่มี 5 นิ้ว เล็บแหลม

พออายุได้ประมาณ 8 เดือน จะ เริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ พวกมันจะไม่ยอมให้ตัวอื่นเป็น “ส่วนเกิน” เข้าใกล้ หลังจบ “ภารกิจ” ก็จะแยกย้ายจากกันอย่าง “หมดเยื่อไม่เหลือใย”

ในระหว่างที่ตัวเมียตั้งท้องซึ่งใช้เวลา 20 วันนั้น มันจะเริ่มออกหาพื้นดินนุ่ม ไม่แห้งหรือชื้นเกินไป เพื่อ ขุดหลุมฝังไข่ครั้งหนึ่งประมาณ 2-3 ฟอง แล้วให้ธรรมชาติใต้ผืนดินทำหน้าที่ฟูมฟัก สมาชิกใหม่ ใช้เวลา 2 เดือน ก็จะออกจากไข่ วัยละอ่อนจะรูปร่างลักษณะคล้ายพ่อแม่มาก ผิวหนังเริ่มมีหนามขึ้นพอเห็นรำไร

ด้วยหน้าตา ท่าทางที่เหมือนสัตว์ดึกดำบรรพ์ ทำให้ผู้เลี้ยงหน้าใหม่ให้ความสนใจ แต่ถึงอย่างไร ก่อนรับไว้เป็นสมาชิกต้องถามตัวเองก่อนว่าจะเก็บไว้นานแค่ไหน ถ้าไม่มั่นใจก็อย่า

เพราะถ้าเหมือน “อีกัวน่า” ก็จบเห่กัน!…

ที่มา : http://www.thaivetcentral.com